รวมรวมบทความเกี่ยวกับไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

รวบรวมบทความเกี่ยวกับไวร์เมชครับ

แชร์ให้เพื่อน :

ไวร์เมชคืออะไร

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh) หรือที่เรียกหลายอย่างเช่น ไวร์เมท,ไวเมช,ไวเมท,ไวเมต คือตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดกันเป็นตะแกรง เพื่อเสริมกำลังคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) ทอติดกันเป็นผืน มีขนาดเส้นลวดขนาดต่างๆตั้งแต่ 3 มม.- 12 มม. อาร์คเชื่อมติดกันด้วยไฟฟ้าทำให้จุดตัดทุกจุดหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ระยะห่างของเส้นลวดหรือที่นิยมเรียกว่า @ มีหลายขนาด เช่น 15*15 ซม / 20*20 ซม / 25*25 ซม / 30* 30 ซม. สามารถตัดเป็นแผงและเป็นม้วนได้ตามความต้องการโดยไม่เสียเศษเหล็ก

จะใช้แทนการผูกเหล็กเส้นธรรมดาทั่วไปเป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และแรงงานได้มากกว่า 80% และมีความสม่ำเสมอของตะแกรงที่แน่นอน ทำให้บริษัทหรือช่างก่อสร้างส่วนใหญ่เลือกใช้เพื่อ

รองก่อนเทคอนกรีต


ขนาดของตะแกรงไวร์เมช

ขนาดของไวร์เมชนั้น มีหลายขนาดมากตามการใช้งาน ในหน้างานแต่ละอย่าง

ไวร์เมชกลมขนาดลวด 3.0-4.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 3 มม. ตาห่าง 25ซมx25 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 25 เมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 25 เมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร

ไวร์เมช ข้ออ้อย ขนาดลวด 4.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมช ข้ออ้อย 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร
* ไวร์เมช ข้ออ้อย 4 มม. ตาห่าง 15ซมx15 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร

ไวร์เมช ข้ออ้อย ขนาดลวด 6.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย 6 มม. ตา 15 ซมx15 ซม. กว้าง 3 ม. ยาว 10 เมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย 6 มม. ตา 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 ม. ยาว 6 เมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย 6 มม. ตา 20ซมx20 ซม. กว้าง 3 ม. ยาว 6 เมตร

และขนาดอื่นๆ ตามที่ต้องการใช้งาน

ขนาดลวด (มม.) ชนิดลวด ขนาดระยะห่าง (@) ขนาดตาราง สั่งผลิตได้
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 15*15 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 20*20 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 25*25 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 50*50 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 20*20 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 25*25 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 50*50 สั่งตัดได้ตามหน้างาน


มาตรฐานของไวร์เมช
ตะแกรงไวร์เมชคุณภาพมาตรฐาน ผลิตโดยโรงงานที่ได้มาตรฐาน เชื่อถือได้ โดยได้รับ มาตรฐาน ม.อ.ก.737-2549 ASTM A185-79, BS4483


ข้อดีของการใช้งานไวร์เมช
ทำไมตะแกรงไวร์เมชถึงได้รับความนิยมใช้งานกันมาก ลองมาดูข้อดีกันครับ
1. ประหยัด เพราะเป็นตะแกรงไวร์เมชสำเร็จ ไม่ต้องผูกเหล้กเส้น ทำให้ไม่มีเหล็กเหลือ
2. รวดเร็ว สามารถใช้งานได้เลย
3. มีความแข็งแรงสม่ำเสมอเท่ากัน เพราะทั้งตะแกรง เท่ากันทุกแผ่น
4. ผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการ ไม่ว่าจะใช้กับงานแบบไหน สามารถผลิตได้ตามขนาดทั้งลวดเส้นเล็กและใหญ่
5. เช็คปริมาณได้รวดเร็ว เพราะสามารถทำเป็นแผง หรือม้วนได้ ทำให้นับจำนวนได้ง่าย
6. ใช้งานได้หลายหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานพื้นโรงงาน โกดัง ลานจอดรถ และที่นิยมใช้มากที่สุด คือถนน
7. รับแรงได้เยอะ เพราะผลิตได้ตามขนาด ได้รับมาตรฐาน ม.อ.ก.737-2549 ASTM A185-79, BS4483
8. กำหนดเวลาผลิตได้ สามารถผลิตได้ตามเวลาที่ต้องการ และทันการใช้งาน
9. รวดเร็วในการทำงาน เพราะไม่ต้องผูกเหล็ก
10. บริษัทหรือผู้รับเหมาทั่วไปเลือกใช้ ตะแกรงไวร์เมช


 

ลักษณะการใช้งานไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ที่มาของการเปลี่ยนเหล็กเส้นมัดหรือเหล็กผูก มาใช้เหล็กไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ที่มาของการเปลี่ยนเหล็กเส้นมัดหรือเหล็กผูก มาใช้เหล็กไวร์เมช

หลายคนที่ไม่ใช่ช่างยังสงสัยว่า เหล็กมัดหรือเหล็กผูกที่นำเหล็กแท่งมาผูกกับลวดผูกเหล็ก และไวร์เมช (wire mesh) คืออะไร ???
ที่จริงแล้วเหล็กเหล็กไวร์เมชคือโครงสร้างเหล็กที่ทำไว้เพื่อให้ปูนหรือซีเมนต์ ยึดเกาะติดกัน ไม่แตก เหมือนกับว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสิ่งก่อสร้างเช่นลานจอดรถ สนามบิน ถนน พื้นบ้าน อาคาร โรงงานต่างๆ เลยก็ว่าได้

ในสมัยก่อนเรานิยมวัดพื้นที่ ความกว้าง ความยาว ขนาดของงานที่เราจะเทพื้น หรือราดคอนกรีตทำถนน ว่ากว้างเท่าไหร่ ยาวเท่าไหร่ เสร็จแล้วเราก็จะสั่งเหล็กเส้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตามที่เราได้คำนวนถึงค่าความแข็งแรงต่างๆไว้ แล้วนำมามัดหรือผูก สานให้เป็นลักษณะตาข่ายเพื่อวางไว้เป็นโครงสร้างก่อนการเทคอนกรีต เพื่อใช้รับแรงหรือเพิ่มความแข็งแรงให้กับพื้น

เหล็กผูกแบบเดิม

ที่นี้จะเห็นได้ว่ามันมีขั้นตอนที่มากมาย ยุ่งยาก ไหนจะเป็นขั้นตอนการวัด คำนวนขนาด และขั้นตอนที่เสียเวลามากที่สุด คือขั้นตอนการผูกเหล็กเส้น เพราะต้องใช้ทั้งเวลา และก็คนงาน มาทำงานทำให้เสียค่าใช้จ่าย เสียเวลาไปมาก ดังนั้นเลยมีการคิดค้นและลดขั้นตอนการผูกเหล็กลง ตอนนี้ไวร์เมช wire mesh หรือตะแกรงสำเร็จรูป ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก แทนที่การผูกเหล็กแบบเดิม  แทบได้ว่าเป็นการพลิกโฉมการเทพื้นในปัจุบันก็ว่าได้ เพราะไวร์เมช wire mesh หรือ ตะแกรงสำเร็จรูปนั้น ผลิตด้วยวิธีที่ทันสมัย ไม่ได้ใช้ลวดผูกเข้าด้วยกัน แต่เป็นการใช้การอาร์ค ให้เหล็กหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน จากการทดสอบในห้อบแลป wire mesh ทนทานต่อการรับแรงดึง มากกว่าเหล็กผูกทั่วไป ในปริมาตรเหล็กที่น้อยกว่า กล่าวคือไวเมท wire mesh ใช้เหล็กน้อยกว่า แต่ทนรับแรงดึงที่มากกว่า และมีจุดคลาทที่สูงมาก ทำให้ช่างนิยมหันมาใช้เหล็กไวร์เมชแทนการผูกเหล็กแบบเดิมเป็นอย่างมาก

และในปัจจุบันยังมีการคิดค้นเหล็กไวร์เมช ที่เรียกว่า ไซเบอร์ไวร์เมช คือเป็นลวดเส้นเล็กๆ ที่นำมารวมกับคอนกรีตและเทพื้นได้เลย แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะใช้งานค่อนข้างยุ่งยาก ไวร์เมชแบบแผ่นจริงยังได้รับความนิยมอยู่อย่างมาก

ขอบคุณ
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=dumdin&date=17-05-2013&group=1&gblog=23

แชร์ให้เพื่อน :

เหล็กไวร์เมช,ไวเมท 1 ม้วนมีกี่ตารางเมตร

แชร์ให้เพื่อน :

เหล็กไวร์เมช / ไวเมท 1 ม้วนมีกี่ตารางเมตร ???

ขนาดของตะแกรงไวร์เมชนั้นไม่แน่นอน ตามแต่ทางโรงงานตัดหรือลูกค้าสั่งตัด โดยขนาดมีหลายขนาดเช่น ลวด 4 มม. ขนาดแผงหรือม้วน 2* 25 เมตร / 2*50 เมตร / หรือขนาด 50 ตรม หรือ 100 ตรม เป็นต้น และในกรณีที่ลูกค้าใช้เยอะก็สามารถตัดเป็นขนาดต่างๆ ได้ตามความต้องการของลูกค้า ดังนั้นขนาดของไวร์เมชจึงมีหลายขนาด


 

แชร์ให้เพื่อน :