ประสบการณ์เลือกใช้งานไวร์เมชสำหรับงานโครงการ

แชร์ให้เพื่อน :

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะเล่าประสบการณ์เลือกใช้งานไวร์เมชสำหรับงานโครงการกันครับ อาชีพผมเป็นผู้รับเหมาโครงการต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นโครงการคอนโดและโรงแรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องใช้ไวร์เมชอยู่เรื่อยๆ สำหรับช่างมืออาชีพคงรู้จักไวร์เมชกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่สำหรับช่างมือใหม่ ผมจะเล่าพอสังเขป
ไวร์เมชก็คือตะแกรงชนิดหนึ่งที่เอาไว้สำหรับรองคอนกรีต ซึ่งในสมัยก่อนช่างจะใช้เหล็กเส้นมามัดติดกันด้วยลวดผูกเหล็กให้เป็นตะแกรงเพื่อเทคอนกรีต แต่ตอนนี้เรามีตะแกรงไวร์เมช ซึ่งใช้งานง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีหลายขนาดให้เลือกใช้งาน เช่นลวดขนาด 4 มม. และตาห่างก็มีหลายขนาด

สำหรับไวร์เมชที่ผมใช้ในโครการคอนโดล่าสุด ผมจะใช้ คือไวร์เมชลวด 4 มม. @20*20 ขนาด 25,000 เมตร ซึ่งเป็นโครงการขนาดกลาง ผมหาข้อมูลจาก อินเตอร์เนตค่อนข้างเยอะ จนมาเจอเว้บไซต์ขาย ไวร์เมช ผมจึงสั่งและขอทดลองจากเซลล์ ซึ่งเซลล์ก็ดูแลเป็นอย่างดี มีบริการที่ดีมากครับ และค่อนข้างประทับใจ สำหรับช่างหรือวิศวกรที่ต้องการใช้งานไวร์เมชหรือใช้งานไวร์เมชเป็นประจำ ผมแนะนำเลยครับ เว็บนี้ครับ 

สาเหตุที่ผมใช้งานไวร์เมชจากที่นี่

  • มีหลายขนาดให้เลือกใช้งานตามหน้างาน
  • เซลล์น่ารักและดูแลเป็นอย่างดีครับ
  • มีบริการจัดส่งถึงหน้างาน
  • คุยต่อรองราคากันได้

แชร์ให้เพื่อน :

รวมรวมบทความเกี่ยวกับไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

รวบรวมบทความเกี่ยวกับไวร์เมชครับ

แชร์ให้เพื่อน :

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับไวเมท 

แชร์ให้เพื่อน :

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับไวเมท

1. ตะแกรงไวเมท คือ ตะแกรงเหล็กกล้าที่เชื่อมติดกัน เพื่อเสริมคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire)ทอติดกันเป็นผืน

2. ไวเมทมีหลายขนาด ที่สำคัญต้องรู้คือ ขนาดของลวดเช่น ลวด 4-12 มม. และขนาดของช่อง @มีหลายขนาด เช่น 15*15 ซม. / 20*20 ซม. / 25*25 ซม. / 30*30 ซม.

3. ราคาของไวเมทมีการขึ้น ลงเรื่อยๆ ตามราคาเหล็ก โดยสามารถเช็คราคาไวเมท ได้ที่นี่ https://www.ไวร์เมช.net/2017/02/20/เช็คราคาไวร์เมช/

4. ไวเมท คือตะแกรงเหล็กที่รองพื้น ก่อนทำการเทคอนกรีตเพื่อเสริมกำลังให้กับคอนกรีต

5. การใช้ไวเมทช่วยทดแทนการผูกเหล็กแบบเดิม 

6. ไวเมทมีสองแบบ คือแบบเป็นม้วน และแบบเป็นแผง

7. เหล็กไวเมท มีสองแบบคือเหล็กเส้นกลม และเหล็กเส้นข้ออ้อย 

8. กัลวาไนซ์ไวเมท คือไวเมท ที่ชุบกัลวาไนซ์เพื่อกันสนิม ส่วนใหญ่จะใช้รองฉนวนกันความร้อนในบ้าน 

9. ตะแกรงเหล็กไวเมทแบบข้ออ้อย จะรับแรงได้ดีกว่าไวเมทแบบเส้นกลม ในขนาดที่เส้นลวดเท่ากัน 

10. ไวเมทของเราได้รับมาตรฐาน ม.อ.ก.737-2549 ASTM A185-79, BS4483 

แชร์ให้เพื่อน :

ขนาดไวร์เมชที่เหมาะสมกับงานแต่ละอย่าง

แชร์ให้เพื่อน :

สวัสดีครับ สำหรับช่างมือใหม่ที่ยังไม่ค่อยชำนาญในการเลือกใช้ตะแกรงไวร์เมช วันนี้เรามาดูกันดีกว่าครับว่า ตะแกรงไวร์เมชที่ใช้รองเพื่อปูคอนกรีตนั้น หรือเพื่อเสริมความแข็งแรงคอนกรีตนั้น มีขนาดและการใช้งานอย่างไรบ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับหน้างานหรืองานที่ต้องการใช้ครับ โดยประสบการณ์ของผมที่ขายไวร์เมชมานาน พอจะสรุปได้ดังนี้ ครับ

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ตะแกรงไวร์เมชนั้น คือเส้นลวดหรือเหล้กเส้นขนาดต่างๆ ที่นำมาทำเป็นตะแกรงเพื่อใช้ปูคอนกรีต เพราะฉะนั้นความแข็งแรงจึงขึ้นอยู่กับขนาดของเหล็กเส้นและระยะห่างของตะแกรงแต่ละช่อง 

  • ตะแกรงไวร์เมชขนาด 3 มม. ตาห่างตั้งแต่ 10*10 ซม. – 25*25 ซม. นั้นส่วนใหญ่มักจะใช้ในงานปูพื้นบ้านโดยทั่วไป พื้นอาคารเป็นส่วนใหญ่ครับ 
  • ตะแกรงไวร์เมช ขนาด 4 มม. ตาห่าง 25*25 ซม. หรือ 20*20 ซม. ส่วนใหญ่ใช้ปูพื้นบ้าน โรงรถ ลานจอดรถ โรงงาน 
  • ตะแกรงไวร์เมชตั้งแต่ 6 มม. สามารถใช้ปูถนนได้เพราะสามารถรับน้ำหนักได้
  • ตะแกรงไวร์เมช 9 มม. หรือ 12 มม. ใช้ปูถนนที่ต้องการการรับแรงที่มากและรับน้ำหนักๆมาก 

จากข้อมูลเบื้องต้นเป็นข้อมูลคร่าวๆนะครับ ซึ่งตามที่ผมเข้าใจ สำหรับการใช้งานจริงๆ ต้องให้ช่างหรือผู้ที่ชำนาญในการคำนวณขนาดของไวร์เมชอีกทีครับ 

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช สำหรับขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช ลูกค้าควรทำตามขั้นตอนดังนี้ครับ 


2. แจ้ง รายละเอียดตามนี้ครับ

  • ชื่อ ชื่อบริษัท เบอร์โทร  /
  • ไวร์เมช ลวด กี่ มม / ตาเท่าไหร่ / ใช้กี่ ตรม.
  • ส่งหน้างานที่ไหน

3. รอเซลล์ติดต่อกลับ ครับ

แชร์ให้เพื่อน :

ไวร์เมชคืออะไร

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh) หรือที่เรียกหลายอย่างเช่น ไวร์เมท,ไวเมช,ไวเมท,ไวเมต คือตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดกันเป็นตะแกรง เพื่อเสริมกำลังคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) ทอติดกันเป็นผืน มีขนาดเส้นลวดขนาดต่างๆตั้งแต่ 3 มม.- 12 มม. อาร์คเชื่อมติดกันด้วยไฟฟ้าทำให้จุดตัดทุกจุดหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ระยะห่างของเส้นลวดหรือที่นิยมเรียกว่า @ มีหลายขนาด เช่น 15*15 ซม / 20*20 ซม / 25*25 ซม / 30* 30 ซม. สามารถตัดเป็นแผงและเป็นม้วนได้ตามความต้องการโดยไม่เสียเศษเหล็ก

จะใช้แทนการผูกเหล็กเส้นธรรมดาทั่วไปเป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และแรงงานได้มากกว่า 80% และมีความสม่ำเสมอของตะแกรงที่แน่นอน ทำให้บริษัทหรือช่างก่อสร้างส่วนใหญ่เลือกใช้เพื่อ

รองก่อนเทคอนกรีต


ขนาดของตะแกรงไวร์เมช

ขนาดของไวร์เมชนั้น มีหลายขนาดมากตามการใช้งาน ในหน้างานแต่ละอย่าง

ไวร์เมชกลมขนาดลวด 3.0-4.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 3 มม. ตาห่าง 25ซมx25 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 25 เมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 25 เมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร

ไวร์เมช ข้ออ้อย ขนาดลวด 4.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมช ข้ออ้อย 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร
* ไวร์เมช ข้ออ้อย 4 มม. ตาห่าง 15ซมx15 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร

ไวร์เมช ข้ออ้อย ขนาดลวด 6.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย 6 มม. ตา 15 ซมx15 ซม. กว้าง 3 ม. ยาว 10 เมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย 6 มม. ตา 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 ม. ยาว 6 เมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย 6 มม. ตา 20ซมx20 ซม. กว้าง 3 ม. ยาว 6 เมตร

และขนาดอื่นๆ ตามที่ต้องการใช้งาน

ขนาดลวด (มม.) ชนิดลวด ขนาดระยะห่าง (@) ขนาดตาราง สั่งผลิตได้
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 15*15 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 20*20 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 25*25 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 50*50 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 20*20 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 25*25 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 50*50 สั่งตัดได้ตามหน้างาน


มาตรฐานของไวร์เมช
ตะแกรงไวร์เมชคุณภาพมาตรฐาน ผลิตโดยโรงงานที่ได้มาตรฐาน เชื่อถือได้ โดยได้รับ มาตรฐาน ม.อ.ก.737-2549 ASTM A185-79, BS4483


ข้อดีของการใช้งานไวร์เมช
ทำไมตะแกรงไวร์เมชถึงได้รับความนิยมใช้งานกันมาก ลองมาดูข้อดีกันครับ
1. ประหยัด เพราะเป็นตะแกรงไวร์เมชสำเร็จ ไม่ต้องผูกเหล้กเส้น ทำให้ไม่มีเหล็กเหลือ
2. รวดเร็ว สามารถใช้งานได้เลย
3. มีความแข็งแรงสม่ำเสมอเท่ากัน เพราะทั้งตะแกรง เท่ากันทุกแผ่น
4. ผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการ ไม่ว่าจะใช้กับงานแบบไหน สามารถผลิตได้ตามขนาดทั้งลวดเส้นเล็กและใหญ่
5. เช็คปริมาณได้รวดเร็ว เพราะสามารถทำเป็นแผง หรือม้วนได้ ทำให้นับจำนวนได้ง่าย
6. ใช้งานได้หลายหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานพื้นโรงงาน โกดัง ลานจอดรถ และที่นิยมใช้มากที่สุด คือถนน
7. รับแรงได้เยอะ เพราะผลิตได้ตามขนาด ได้รับมาตรฐาน ม.อ.ก.737-2549 ASTM A185-79, BS4483
8. กำหนดเวลาผลิตได้ สามารถผลิตได้ตามเวลาที่ต้องการ และทันการใช้งาน
9. รวดเร็วในการทำงาน เพราะไม่ต้องผูกเหล็ก
10. บริษัทหรือผู้รับเหมาทั่วไปเลือกใช้ ตะแกรงไวร์เมช


 

ลักษณะการใช้งานไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

กัลวาไนซ์ไวร์เมชคืออะไร

แชร์ให้เพื่อน :

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไวร์เมชคือตะแกรงเสริมคอนกรีต ที่ช่วยให้คอนกรีตแข็งแรง แต่ยังมีไวร์เมชอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กับงานฝ้า นั่นคือ กัลวาไนซ์ไวร์เมช

วิธีการติดตั้งฉนวนกั้นความร้อนโดยใช้ กัลวาไนซ์ไวร์เมช (TPK Galvaniaze Wire mesh) ในการรองรับฉนวน เชื่อมตะแกรงเหล็กใต้แป ปูน ฉนวนในช่องแป หลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ Metal Sheet ช่วยรองรับน้ำหนักของฉนวนกันความร้อนและให้งานเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น

* ติดตั้งได้ทั้งอาคารเก่าและใหม่
* โครงสร้างหลังคาที่เป็นโลหะ

แชร์ให้เพื่อน :

ที่มาของการเปลี่ยนเหล็กเส้นมัดหรือเหล็กผูก มาใช้เหล็กไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ที่มาของการเปลี่ยนเหล็กเส้นมัดหรือเหล็กผูก มาใช้เหล็กไวร์เมช

หลายคนที่ไม่ใช่ช่างยังสงสัยว่า เหล็กมัดหรือเหล็กผูกที่นำเหล็กแท่งมาผูกกับลวดผูกเหล็ก และไวร์เมช (wire mesh) คืออะไร ???
ที่จริงแล้วเหล็กเหล็กไวร์เมชคือโครงสร้างเหล็กที่ทำไว้เพื่อให้ปูนหรือซีเมนต์ ยึดเกาะติดกัน ไม่แตก เหมือนกับว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสิ่งก่อสร้างเช่นลานจอดรถ สนามบิน ถนน พื้นบ้าน อาคาร โรงงานต่างๆ เลยก็ว่าได้

ในสมัยก่อนเรานิยมวัดพื้นที่ ความกว้าง ความยาว ขนาดของงานที่เราจะเทพื้น หรือราดคอนกรีตทำถนน ว่ากว้างเท่าไหร่ ยาวเท่าไหร่ เสร็จแล้วเราก็จะสั่งเหล็กเส้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตามที่เราได้คำนวนถึงค่าความแข็งแรงต่างๆไว้ แล้วนำมามัดหรือผูก สานให้เป็นลักษณะตาข่ายเพื่อวางไว้เป็นโครงสร้างก่อนการเทคอนกรีต เพื่อใช้รับแรงหรือเพิ่มความแข็งแรงให้กับพื้น

เหล็กผูกแบบเดิม

ที่นี้จะเห็นได้ว่ามันมีขั้นตอนที่มากมาย ยุ่งยาก ไหนจะเป็นขั้นตอนการวัด คำนวนขนาด และขั้นตอนที่เสียเวลามากที่สุด คือขั้นตอนการผูกเหล็กเส้น เพราะต้องใช้ทั้งเวลา และก็คนงาน มาทำงานทำให้เสียค่าใช้จ่าย เสียเวลาไปมาก ดังนั้นเลยมีการคิดค้นและลดขั้นตอนการผูกเหล็กลง ตอนนี้ไวร์เมช wire mesh หรือตะแกรงสำเร็จรูป ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก แทนที่การผูกเหล็กแบบเดิม  แทบได้ว่าเป็นการพลิกโฉมการเทพื้นในปัจุบันก็ว่าได้ เพราะไวร์เมช wire mesh หรือ ตะแกรงสำเร็จรูปนั้น ผลิตด้วยวิธีที่ทันสมัย ไม่ได้ใช้ลวดผูกเข้าด้วยกัน แต่เป็นการใช้การอาร์ค ให้เหล็กหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน จากการทดสอบในห้อบแลป wire mesh ทนทานต่อการรับแรงดึง มากกว่าเหล็กผูกทั่วไป ในปริมาตรเหล็กที่น้อยกว่า กล่าวคือไวเมท wire mesh ใช้เหล็กน้อยกว่า แต่ทนรับแรงดึงที่มากกว่า และมีจุดคลาทที่สูงมาก ทำให้ช่างนิยมหันมาใช้เหล็กไวร์เมชแทนการผูกเหล็กแบบเดิมเป็นอย่างมาก

และในปัจจุบันยังมีการคิดค้นเหล็กไวร์เมช ที่เรียกว่า ไซเบอร์ไวร์เมช คือเป็นลวดเส้นเล็กๆ ที่นำมารวมกับคอนกรีตและเทพื้นได้เลย แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะใช้งานค่อนข้างยุ่งยาก ไวร์เมชแบบแผ่นจริงยังได้รับความนิยมอยู่อย่างมาก

ขอบคุณ
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=dumdin&date=17-05-2013&group=1&gblog=23

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงไวร์เมช ใช้ในงานประเภทไหนบ้าง

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงไวร์เมช ใช้ในงานประเภทไหนบ้าง
เราทราบกันดีแล้วว่า ตะแกรงไวร์เมชนั้น ใช้เพื่อเสริมคอนกรีตให้แข็งแรงขึ้น เรามาดูกันดีกว่า ตะแกรงไวร์เมชนั้นใช้ในงานแบบไหนบ้าง

– พื้นคอนกรีตทุกชนิด เช่น พื้นดิน (SLAB ON GROUN) ,พื้นอาคารบ้านเรือน พื้นลานจอดรถ เป็นต้น
– พื้นบนคาน (SUSPENDED FLOORS) , ใช้ไวร์เมชบนพื้นบนคานบ้านเพื่อช่วยให้พื้นบ้านชั้นบนมีความแข็งแรง
– หลังคา (ROOF FLOOR) พื้นแบบนี้ จะใช้ กัลวาไนซ์ไวร์เมช เพื่อรองรับฉนวนกันความร้อนที่ปู
– ปูก่อนเทคอนกรีตทับหน้า (TOPPING OF PRECAST FLOOR)
– พืนสำหรับงาน POST TENSION
– ถนนคอนกรีต ลานจอดรถ สนามบิน ลานโกดัง เป็นต้น พื้นที่ต้องรับแรงมากๆ แบบนี้ จะใช้ไวร์เมชแบบข้ออ้อย และมีขนาดลวดที่ใหญ่ตั้งแต่ 6 มม. ขึ้นไป และตาห่างต้องถี่มากขึ้น
– ผนังรับแรง (BRARING WALL) กำแพงดิน) นอกจากนี้ ไวร์เมชแบบม้วนยังใช้เพื่อก่อกำแพงเพื่อรับผนังได้อีกด้วย
– ท่อ BOX COVERT ท่อขนาดใหญ่ อย่างเข่นท่อระบายน้ำ ที่อยู่ใต้ถนนก็ใช้ ไวร์เมชเพื่อรับแรงได้เช่นกัน 

ไวร์เมชนั้นใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะใช้งานง่าย และสะดวกรวดเร็ว 

 

ลานจอดรถ ก็ใช้ไวร์เมชเสริมความแข็งแรงให้กับพื้น

 

ถนนคอนกรีต ก็ใช้ไวร์เมชเสริมความแข็งแรงให้กับพื้น

 

 

Runway สนามบินก็เลือกใช้ไวร์เมช เพื่อเสริมความแข็งแรง

แชร์ให้เพื่อน :

ประโยชน์ของการเลือกใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ประโยชน์ของการเลือกใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมช

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าเหล็กไวร์เมชนั้นใช้งานง่ายและรวดเร็ว แถมผู้รับเหมายังชอบที่จะใช้เหล็กไวร์เมชแทนเหล็กผูกแบบเดิมแทบทั้งหมด เรามาดูกันว่าทำไมบริษํทก่อสร้างและผู้รับเหมาจึงเลือกใช้เหล็กไวร์เมชกับงานกันครับ เหตุผลที่ผู้รับเหมาเลือกใช้เหล็กตะแกรงไวร์เมช

1. ประหยัด เพราะเป็นตะแกรงเหล็กที่มีกำลังคลากสูงกว่าเหล็กเส้นทั่วไปถึงสองเท่า จึงทำให้ประหยัดวัสดุ ประกอบกับตะแกรงเหล็กสามารถสั่งผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการ จึงไม่ทำให้เสียเศษเหล็ก ลดขั้นตอนเวลา และภาระลดความสูญเสีย
2. รวดเร็ว เพราะตะแกรงเหล็กสามารถช่วยลดขั้นตอนในการทำงานได้ถึง 50% เนื่องจากการขนส่งเคลื่อนย้ายสะดวกและรวดเร็ว สามารถนำไปใช้ได้ทันทีไม่ต้องเสียเวลาในการผูกเหล็ก ตัดและดัด ทำให้ลดเวลาในการผูกเหล็กลงได้ถึง 70-90% ถือว่าจบครั้งเดียวถ้าเลือกตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh)
3. มีความแข็งแรงสม่ำเสมอ เพราะเป็นตะแกรงเหล็กที่ผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ ทุกระยะจุดเชื่อมไม่คลาดเคลื่อนได้มาตรฐานสม่ำเสมอตลอดผืนและมีความมั่นทนแข็งแรง ไม่บิดงอ ทำให้งานเสริมเหล็กออกมาดี ซึ่งเป็นผลให้โครงสร้างมีความแข็งแรงสม่ำเสมอตลอดทั้งผืน และเหล็กยังเป็นเหล็กทีได้มาตรฐานทั้งเหล็กเส้นกลม หรือข้ออ้อย
4. ผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการใช้งาน เพราะเหล็กตะแกรงไวร์เมชนั้นผลิตจากโรงงานมาตรฐาน และเหล็กเส้นมาตรฐาน ขนาดของแผ่นหรือช่องว่าง (@) ของตะแกรงจึงเท่ากันทั้งแผ่นแน่นอน
5. ตรวจสอบปริมาณได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะเป็นแผ่นที่ขนาดเท่ากันแน่นอนของเหล็กไวร์เมชจึงตรวจสอบปริมาณของแผ่นหรือคิดคำนวณการใช้งานเป็นตารางเมตรได้อย่างแน่นอนและแม่นยำ
6. ใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น การใช้เหล็กไวร์เมชเพื่อปูพื้นถนน  ,ปูพื้นโรงงาน ,ปูพื้นลาดจอดรถ ปูพื้นโกดังเก็บของ มาดูประเภทของเหล็กไวร์เมชและประเภทของการใช้งานกัน
7. กำลังคลาทสูงกว่าเหล็กผูกแบบปกติ เพราะเหล็กตะแกรงไวร์เมชนั้นทำจากโรงงานและมีขนาดเท่ากันทั้งแผ่นจริงทำให้ ได้กำลังคลาทที่สูงกว่าเหล็กผูกแบบปกติ แน่นอน
8. กำหนดเวลาเสร็จได้แน่นอน เพราะใช้งานง่ายจริงทำให้ประหยัดเวลาและสามารถกำหนดเวลาที่งานเสร็จได้ค่อนข้างแน่นอน
9. รวดเร็วในการทำงาน เพราะเหล็กตะแกรงไวร์เมชนั้น ใช้งานง่าย รวดเร็ว
10. ผู้รับเหมาทั่วไป หรือแม้กระทั่งบริษัทใหญ่ก็เลือกใช้งานเหล็กไวร์เมช ในการเทคอนกรีตเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับพื้น

แชร์ให้เพื่อน :