ตะแกรงไวร์เมช 20 x 20 ซม. ขนาด 2.0 x 30 ม. (ม้วน) 3.8 มม.

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงไวร์เมช 20 x 20 ซม. ขนาด 2.0 x 30 ม. (ม้วน) 3.8 มม.

ขนาดลวด 3.8 มม.
ขนาดช่องห่าง 20*20 ซม.
ขนาดม้วน 2.0 * 30 ม.

คุณสมบัติทั่วไป
ตะแกรงไวร์เมช ตะแกรงเหล็กสำเร็จรูป สามารถรับแรงดึงได้สูงกว่าการใช้เหล็กเส้นทั่วไปที่ผูกด้วยแรงงาน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้เอนกประสงค์ เช่น งานโครงสร้างฝ้า งานก่อสร้างถนน โกดัง พื้นอาคาร กำแพงเสริมคอนกรีต ผนังรับแรง เป็นต้น

คุณสมบัติเด่น
ตะแกรงไวร์เมช ตะแกรงเหล็กสำเร็จรูป มีการควบคุมการผลิตด้วยมาตรฐาน ผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพสูงผ่านกระบวนการรีดเย็น และนำมาเชื่อมสปอตเป็นตะแกรงด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติที่มีความละเอียดสูง จึงทำให้ตะแกรงเหล็กสำเร็จรูปมีจุดเชื่อมของตะแกรงเหล็กติดกัน และมีความห่างคงที่ จึงเป็นที่นิยมนำมาใช้ในงานเสริมคอนกรีตพื้นผิว หรืองานถนนคอนกรีต จะช่วยให้ประหยัดเวลา แทนการผูกเหล็กแบบเดิม ทำให้ก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย ลดการใช้เวลาและขั้นตอนได้มากยิ่งขึ้น ประหยัดงบประมาณได้มากขึ้น

#ตะแกรงไวร์เมช2020

 

แชร์ให้เพื่อน :

การวัดขนาดเหล็กไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมารู้วิธีการวัดขนาดของเหล็กไวร์เมชกันครับ การวัดขนาดของไวร์เมชนั้น มี 3 อย่างหลักๆดังนี้

1. ขนาดของเส้นลวด หรือเหล็กเส้น ขนาดของลวดเหล้กไวร์เมชนั้นมีขนาดตั้งแต่ 3-12 มม แล้วแต่ขนาดที่ต้องการใช้งาน

Continue reading “การวัดขนาดเหล็กไวร์เมช”

แชร์ให้เพื่อน :

แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile )

แชร์ให้เพื่อน :

แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile )

ผลิต จำหน่าย GEOTEXTILE (แผ่นใยสังเคราะห์) ราคาโรงงาน พร้อมให้คำปรึกษา

สวัสดีครับ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับวัสดุชนิดหนึ่งที่เกี่ยวกับงานพื้นเช่นเดียวกันกับไวร์เมช นั่นก็คือ Geotextile หรือแผ่นใยสังเคราะห์ วัสดุชนิดนี้คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

Geotextile คือ วัสดุใยสังเคราะห์ที่มีความสามารถในการซึมผ่านของน้ำสูง มักใช้กับงานดิน ซึ่งวัสดุดังกล่าวมีความสามารถใน การแยกชั้น การกรอง การเสริมความแข็งแรง การป้องกันการชะของหน้าดินและการระบาย โดยทั่วไปทำจาก polypropylene หรือ polyester โดยทั่วไปผ้าใยสังเคราะห์ geotextile มีหลายรูปแบบได้แก่ woven, non-woven, knitted เป็นต้น

👉สั่งซื้อและสอบถาม แผ่นใย Geotextile 

ลักษณะของ Geotextile
ลักษณะของ Geotextile
Geotextile เป็นม้วน

การผลิต Geotextile

Geotextile จัดเป็นสิ่งทอสังเคราะห์( Nonwoven textile) มีลักษณะเป็นแผ่นใยสังเคราะห์ผืนใหญ่น้ำหนักเบา ทำให้เป็นผืนโดยการนำเส้นใยมาผลิตโดยตรง ไม่ต้องผ่านการท้าให้เป็นเส้นด้ายก่อน เส้นใยสามารถยึดติดกันและท้าให้แข็งแรงด้วกระบวนการเชิงกล กระบวนการทางเคมี หรือกระบวนการทางความร้อน เส้นใยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นเส้นใยประดิษฐ์ เช่น พอลิเอสเตอร์ (polyester ) ,พอลิโพรพิลีน ( polypropylene ) เป็นต้น

Geotextile เป็นสิ่งทอที่ผลิตขึ้นในงานของวิศวกรรมโยธาและอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน ควบคุมอุณหภูมิของดินและปริมาณน้ำ ป้องกันการทรุดตัวของดิน กรวด ทราย หรือหิน และใช้ในงานปรับภูมิทัศน์ หรือสวนในตึก เป็นต้น

Non woven geotextile
คือแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ โดยกรรมวิธีเข็มบดอัด ที่ผลิตจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์ หรือ โพลีโพรไพลีน

ขั้นตอนการผลิต Geotextile

คุณสมบัติของ geotextile
* เป็นแผ่นสีขาว
* ไม่มีการทอ เป็นการประสานด้วยเส้นใยประเภท polypropylene หรือ polyester และกาว
* กว้างประมาณ 2 หรือ 4 เมตร แล้วแต่โรงงานที่ผลิต
* ยาวประมาณ 100-200 เมตร แล้วแต่โรงงานที่ผลิต

ผ้าใยสังเคราะห์ (Geotextile) เป็นวัสดุป้องกันที่ใช้ออกแบบในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สามารถผลิตให้มีน้ำหนักได้ตั้งแต่ 120 กรัม/ตร.ม. จนถึง 400 กรัม/ตร.ม. ซึ่งแต่ละน้ำหนักจะมีความสามารถในการรับน้ำหนักกดทับได้ต่างกัน ตั้งแต่ 500 กิโลกรัม/ตร.ม. เป็นต้นไป การเลือกใช้ก็จะขึ้นอยู่กับงานแต่ละชนิด


ขนาดของ Geotextile 

รุ่น กว้าง (เมตร) ยาว (เมตร) น้ำหนัก (กิโลกรัม)
GOGPL 120 gram 2 100 24
GOGPL 120 gram 4 100 48
GOGPL 150 gram 2 100 30
GOGPL 150 gram 4 100 60
GOGPL 200 gram 2 100 40
GOGPL 200 gram 4 100 80
GOGPL 250 gram 2 100 50
GOGPL 250 gram 4 100 100
GOGPL 300 gram 2 100 60
GOGPL 300 gram 4 100 120
GOGPL 400 gram 2 100 80
GOGPL 400 gram 4 100 160
GOGPL 500 gram 2 100 100
GOGPL 500 gram 4 100 200

หน้าที่ของแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile function)

1. ใช้ทำหน้าที่แยกชั้นวัสดุ (Separator) โดยมากจะเป็นการปูเพื่อแยกวัสดุมวลรวม 2 ชนิดที่ต่างกันออกจากกัน เพื่อเป็นการควบคุมการรวมตัว ของวัสดุที่ไม่เท่ากัน เช่น เป็นการปูรองชั้นดิน ก่อนถมวัสดุมวลรวมใหม่ เพื่อทำเป็นวัสดุรองพื้น ก่อนทำผิวหน้าเป็นคอนกรีตหรือแอสฟัลท์

คุณสมบัติหลัก ในการเลือกใช้งาน ควรเลือกวัสดุที่มีค่าการระบายน้ำสูง ค่าการยืดหยุ่นตัวที่ดี ค่าป้องกันการเจาะทะลุสูง

2. ใช้ทำหน้าเป็นวัสดุกรอง (Filter) โดยมากจะเน้นเป็นการปู เพื่อป้องกันวัสดุมวลรวม ที่เราต้องการจำกัดการเคลื่อนตัว เคลื่อนที่ไป เช่น การปูด้านหลังกล่องลวดตาข่าย (Gabion & Mattress) การปูด้านหลังการเรียงหิน การห่อหุ้มท่อระบายน้ำ

คุณสมบัติหลัก ในการเลือกใช้งาน ควรเลือกวัสดุที่มีค่าการระบายน้ำสูง ค่าการยืดหยุ่นตัวที่ดี ค่าป้องกันการเจาะ
ทะลุสูงและมีความพรุ่นต่ำ

 

การใช้งาน GEOTEXTILE

  • ใช้ปูบ่อก่อนการทำอ่างเก็บน้ำดี / น้ำเสีย ก่อนปูพลาสติกกันซึม
  • ปูบ่อขยะ
  • ปูพื้นหรือกั้นผนังดินเสริมความแข็งแรงให้เขื่อน
  • งานผนังกันดิน
  • งานถนน
  • งานสนามหญ้า / สนามกอล์ฟ
  • ระบายน้ำใต้ดิน เป็นต้น

4 วัตถุประสงค์หลักที่ใช้งาน Geotextile กันส่วนมาก ได้แก่
– การแยกชั้นวัสดุ
– การใช้เป็นวัสดุกรอง
– การใช้เป็นวัสดุเสริมกำลัง
– การใช้เป็นวัสดุระบายน้ำ

การเลือกใช้ Geotextile

หากงานก่อสร้างหรือโปรเจคที่ท่านทำอยุ๋มีความจำเป็นต้องใช้ Geotextile ท่านอาจจะมีคำถามว่าเลือกใช้ Geotextile อย่างไรดี

การเลือกใช้แผ่นใยสังเคราะห์สำหรับงานวิศวกรรมโยธา ควรดูที่วัตถุประสงค์หลักในการนำไปใช้งานก่อน เพราะจะทำให้เลือกคุณบัติของแผ่นใยสังเคราะห์ที่เหมาะสมและได้ประโยชน์สูงสุด
หลังจากนั้นอาจดูที่วัตถุประสงค์รองมาเพื่อประกอบ และอาจจะปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ

 

การติดตั้งแผ่นใยสังเคราะห์
​คำแนะนำสำหรับการต่อทาบแผ่นใยสังเคราะห์
การต่อทาบแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ
(Non woven geotextile)
ปัจจุบันการต่อทาบแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ จะมี 2 รูปแบบ คือ
– การเย็บ ข้อดี คือ สามารถประหยัดแผ่นใยสังเคราะห์ที่จะซ้อนทับได้
– การวางทับต่อทาบ ข้อดี คือ ทำงานง่าย
การเย็บต่อทาบแผ่นใยสังเคราะห์
สามารถใช้เครื่องเย็บมือสนาม แบบด้ายเดี่ยวหรือด้ายคู่ โดยรูปแบบการเย็บที่แนะนำได้แก่ Prayer seam, J seam
การวางทับต่อทาบแผ่นใยสังเคราะห์
สามารถทำได้ด้วยการวางซ้อนทับกัน และยึดด้วยหมุดชั่วคราว เช่น เหล็ก J-pin เพื่อให้แผ่นใยสังเคราะห์อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการตามแบบ และเมื่อมีการถมวัสดุมวลรวมลงทับแล้วจะเป็นการจำกัดการเคลื่อนตัวของแผ่นใยสังเคราะห์ไปโดยปริยาย
ระยะซ้อนทับที่แนะนำ ดังนี้
– สำหรับการปูบนพื้นดินเดิมที่แน่น ระยะซ้อนทับประมาณ 30 cm.
– สำหรับการปูบนพื้นดินเดิมที่ค่อนข้างอ่อน ระยะซ้อนทับประมาณ 50 cm.
– สำหรับการปูใต้น้ำ ระยะซ้อนทับประมาณ 100 cm.


การใช้งาน Geotextile ในงานต่างๆ

การก่อสร้างบ่อทรายในสนามกอล์ฟ โดยใช้ Geotextile ปูเพื่อทำเป็นบ่อทราย ในสนามกอล์ฟ

การก่อสร้างบ่อทรายให้สวยและสะอาด ด้วยการใช้แผ่นใยสังเคราะห์ ชนิด Non woven geotextile สำหรับงานแยกชั้นวัสดุ
แผ่นใยสังเคราะหชนิดไม่ถักทอ (Non woven geotextile) สามารถนำไปใช้ในการปูเพื่อแยกชั้นทราย เพื่อไม่ให้ทรายจมตัวรวมลงไปกับดินได้ ซึ่งจะทำให้ได้ชั้นทรายที่สะอาดและสวยงาม
โดยแผ่นใยสังเคราะห์ที่ใช้ในลักษณะงานแบบนี้ ควรจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
มีความสามารถในการระบายน้ำผ่านแผ่นได้ดีมาก มีความยืดหยุ่นตัวสูงและมีความเหนียวไม่ฉีกขาดง่าย

 

ถนนเลียบคลอง สร้างถนนเลียบคลอง ติดน้ำ ให้ใช้งานกันได้แบบยาวๆ
ต้องเน้นงานป้องกันตลิ่ง ลดการเคลื่อนตัวของคันดินเพื่อไม่ให้กระทบต่อโครงสร้างหลัก
สามารถทำหลายแบบ เช่น การใช้เขื่อนเรียงหินเป็นแนวปะทะน้ำ และใช้ Non woven geotextile สำหรับใช้เป็นวัสดุกรอง โดยยอมให้น้ำสามารถผ่านเข้าออกได้ แต่จำกัดการเคลื่อนตัวของอนุภาคดินไว้ไม่ให้เคลื่อนตามไป
ด้วยคุณสมบัติของแผ่นใยสังเคราะห์ แบบไม่ถักทอ ที่สามารถระบายน้ำสูง การยืดหยุ่นตัวสูง และฉีกขาดยาก

 

Geotextile สำหรับงานจัดสวน
ข้อดีของ Non woven geotextile สำหรับงานจัดสวน
สำหรับงานจัดสวนหินหลายที่ ที่มักใช้ตาข่ายพลาสติกมาปูรองเพื่อแยกชั้นหินออกจากพื้นดิน ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ วัชพืชจะสามารถแทงทะลุเติบโตได้ง่ายมาก
แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven geotextile) สามารถตอบโจทย์เรื่องการแยกชั้นวัสดุได้ดี สามารถระบายน้ำได้สูง และยังป้องกันวัชพืชไม่ให้ขึ้นมาได้ด้วย

Non woven geotextile for separation
ปัจจุบันการก่อสร้างสนามฟุตซอล นิยมใช้แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven geotextile) มาปูก่อนลงวัสดุมวลรวมชั้นสุดท้าย เพื่อทำหน้าที่เป็นการแยกชั้นวัสดุ เพิ่มสเถียรภาพชั้นรองพื้น ควบคุมการทรุดตัว และยังคงคุณสมบัติในการระบายน้ำลงสู่ดินได้ดี
อีกทั้งยังเป็นการป้องกันวัชพืชจากดินที่อาจขึ้นมาได้อีกด้วย

 

Geotextile ในการป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง
Non woven geotextile with Gabion wall
การออกแบบการกัดเซาะริมตลิ่งแม่น้ำ โดยการใช้กำแพงกล่องลวดตาข่ายเป็นแนวปะทะน้ำ
โดยเน้นการออกแบบเสถียรภาพของโครงสร้างกำแพงที่มีความมั่นคง แล้วใช้ Non woven geotextile ปูด้านหลังกำแพงติดกับชั้นดิน เพื่อเป็นวัสดุกรองให้น้ำสามารถซึมผ่านเข้าออกจากโครงสร้างได้เป็นอย่างดี แต่ไม่ยอมให้อนุภาคของดินเคลื่อนที่ตามไปด้วย เพื่อลดแรงดันน้ำที่อาจเกิดขึ้น

 

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช สำหรับขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช ลูกค้าควรทำตามขั้นตอนดังนี้ครับ 


2. แจ้ง รายละเอียดตามนี้ครับ

  • ชื่อ ชื่อบริษัท เบอร์โทร  /
  • ไวร์เมช ลวด กี่ มม / ตาเท่าไหร่ / ใช้กี่ ตรม.
  • ส่งหน้างานที่ไหน

3. รอเซลล์ติดต่อกลับ ครับ

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงไวร์เมช 4 มม.

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงไวร์เมช 4 มม. คืออะไร 

ตะแกรงไวร์เมชนั้นมีหลายขนาดและหลายแบบมาก ขึ้นอยู่กับการใช้งานเช่นถ้าปูพื้นบ้าน สำหรับไวร์เมชที่นิยมใช้กันมากก็คือ ตะแกรงไวร์เมชแบบ 4 มม. ระยะห่างก็มีตั้งแต่ 20*20 ซม. / 25*25 ซม. 

แต่ถ้าใช้ปูพื้นถนนก็ใช้ลวดที่ใหญ่ขึ้นมาอีกเช่น ลวด 6 มม. หรือ 9 มม. ไปเลย เพราะฉะนั้นตะแกรงไวร์เมช 4 มม. จึงเหมาะกับงานปูพื้นบ้าน หรือทำบ้านพักทั่วไป 

แชร์ให้เพื่อน :

3 ขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมชจากเรา

แชร์ให้เพื่อน :

3 ขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมชจากเรา

สำหรับลูกค้าที่ต้องการสั่งซื้อไวร์เมช จากเราและต้องการสอบถามราคา วันนี้เรามี 3 ขั้นตอนง่ายๆ ในการสั่งผลิตและการสอบถามราคาไวร์เมชมาฝากกันครับ


1.โทรสอบถามที่ 


2. แจ้งรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ ตามนี้

  • 1. ชื่อ ชื่อบริษัท เบอร์โทร
  • 2. ไวร์เมช ลวด กี่ มม / ตาเท่าไหร่ / ใช้กี่ ตรม.
  • 3. ส่งหน้างานที่ไหน

3.รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ

เพียงเท่านี้ คุณก็จะได้ข้อมูลอย่างรวดเร็วเพื่อตัดสินใจในการสั่งซื้อ สินค้าแล้วล่ะครับ

 

แชร์ให้เพื่อน :

ประโยชน์ของการเลือกใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ประโยชน์ของการเลือกใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมช

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าเหล็กไวร์เมชนั้นใช้งานง่ายและรวดเร็ว แถมผู้รับเหมายังชอบที่จะใช้เหล็กไวร์เมชแทนเหล็กผูกแบบเดิมแทบทั้งหมด เรามาดูกันว่าทำไมบริษํทก่อสร้างและผู้รับเหมาจึงเลือกใช้เหล็กไวร์เมชกับงานกันครับ เหตุผลที่ผู้รับเหมาเลือกใช้เหล็กตะแกรงไวร์เมช

1. ประหยัด เพราะเป็นตะแกรงเหล็กที่มีกำลังคลากสูงกว่าเหล็กเส้นทั่วไปถึงสองเท่า จึงทำให้ประหยัดวัสดุ ประกอบกับตะแกรงเหล็กสามารถสั่งผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการ จึงไม่ทำให้เสียเศษเหล็ก ลดขั้นตอนเวลา และภาระลดความสูญเสีย
2. รวดเร็ว เพราะตะแกรงเหล็กสามารถช่วยลดขั้นตอนในการทำงานได้ถึง 50% เนื่องจากการขนส่งเคลื่อนย้ายสะดวกและรวดเร็ว สามารถนำไปใช้ได้ทันทีไม่ต้องเสียเวลาในการผูกเหล็ก ตัดและดัด ทำให้ลดเวลาในการผูกเหล็กลงได้ถึง 70-90% ถือว่าจบครั้งเดียวถ้าเลือกตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh)
3. มีความแข็งแรงสม่ำเสมอ เพราะเป็นตะแกรงเหล็กที่ผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ ทุกระยะจุดเชื่อมไม่คลาดเคลื่อนได้มาตรฐานสม่ำเสมอตลอดผืนและมีความมั่นทนแข็งแรง ไม่บิดงอ ทำให้งานเสริมเหล็กออกมาดี ซึ่งเป็นผลให้โครงสร้างมีความแข็งแรงสม่ำเสมอตลอดทั้งผืน และเหล็กยังเป็นเหล็กทีได้มาตรฐานทั้งเหล็กเส้นกลม หรือข้ออ้อย
4. ผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการใช้งาน เพราะเหล็กตะแกรงไวร์เมชนั้นผลิตจากโรงงานมาตรฐาน และเหล็กเส้นมาตรฐาน ขนาดของแผ่นหรือช่องว่าง (@) ของตะแกรงจึงเท่ากันทั้งแผ่นแน่นอน
5. ตรวจสอบปริมาณได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะเป็นแผ่นที่ขนาดเท่ากันแน่นอนของเหล็กไวร์เมชจึงตรวจสอบปริมาณของแผ่นหรือคิดคำนวณการใช้งานเป็นตารางเมตรได้อย่างแน่นอนและแม่นยำ
6. ใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น การใช้เหล็กไวร์เมชเพื่อปูพื้นถนน  ,ปูพื้นโรงงาน ,ปูพื้นลาดจอดรถ ปูพื้นโกดังเก็บของ มาดูประเภทของเหล็กไวร์เมชและประเภทของการใช้งานกัน
7. กำลังคลาทสูงกว่าเหล็กผูกแบบปกติ เพราะเหล็กตะแกรงไวร์เมชนั้นทำจากโรงงานและมีขนาดเท่ากันทั้งแผ่นจริงทำให้ ได้กำลังคลาทที่สูงกว่าเหล็กผูกแบบปกติ แน่นอน
8. กำหนดเวลาเสร็จได้แน่นอน เพราะใช้งานง่ายจริงทำให้ประหยัดเวลาและสามารถกำหนดเวลาที่งานเสร็จได้ค่อนข้างแน่นอน
9. รวดเร็วในการทำงาน เพราะเหล็กตะแกรงไวร์เมชนั้น ใช้งานง่าย รวดเร็ว
10. ผู้รับเหมาทั่วไป หรือแม้กระทั่งบริษัทใหญ่ก็เลือกใช้งานเหล็กไวร์เมช ในการเทคอนกรีตเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับพื้น

แชร์ให้เพื่อน :