มารู้จักกับตะแกรงเหล็กไวร์เมช (WIREMESH)

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช,วายเมท,ไวเมท (Wire Mesh)

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh)หรือ ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) ทอติดกันเป็นผืน มีขนาดเส้นลวดขนาดต่างๆตั้งแต่ 3 มม.- 6 มม. อาร์คเชื่อมติดกันด้วยไฟฟ้าทำให้จุดตัดทุกจุดหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ระยะห่างของเส้นลวดหรือที่นิยมเรียกว่า @มีหลายขนาด เช่น 15*15 นิ้ว / 20*20 นิ้ว / 25*25 นิ้ว สามารถตัดเป็นแผงและเป็นม้วนได้ตามความต้องการโดยไม่เสียเศษ จะใช้แทนการผูกเหล็กเส้นธรรมดาทั่วไปเป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และแรงงานได้มากกว่า 80% และมีความสม่ำเสมอของตะแกรงที่แน่นอน

การใช้งานไวร์เมชนั้นจะนำไปใช้เพื่อเป็นฐานรับแรงหรือรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง ที่นิยมมากๆก็คือนำไปวางเพื่อทำพื้นถนน ทั้งนี้เพราะช่วยให้ถนนรับแรงและน้ำหนักได้มากขึ้น ไม่แตกเมื่อรับน้ำหนักมากๆและยังช่วยยึดเกาะพื้นถนนได้ดีอีกด้วย 


ขนาดของตะแกรงไวร์เมช

ขนาดลวด (มม.) ชนิดลวด ขนาดระยะห่าง (@) ขนาดตาราง สั่งผลิตได้
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 15*15 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 20*20 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 25*25 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 50*50 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 20*20 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 25*25 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 50*50 สั่งตัดได้ตามหน้างาน

แชร์ให้เพื่อน :

ขนาดไวร์เมชที่เหมาะสมกับงานแต่ละอย่าง

แชร์ให้เพื่อน :

สวัสดีครับ สำหรับช่างมือใหม่ที่ยังไม่ค่อยชำนาญในการเลือกใช้ตะแกรงไวร์เมช วันนี้เรามาดูกันดีกว่าครับว่า ตะแกรงไวร์เมชที่ใช้รองเพื่อปูคอนกรีตนั้น หรือเพื่อเสริมความแข็งแรงคอนกรีตนั้น มีขนาดและการใช้งานอย่างไรบ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับหน้างานหรืองานที่ต้องการใช้ครับ โดยประสบการณ์ของผมที่ขายไวร์เมชมานาน พอจะสรุปได้ดังนี้ ครับ

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ตะแกรงไวร์เมชนั้น คือเส้นลวดหรือเหล้กเส้นขนาดต่างๆ ที่นำมาทำเป็นตะแกรงเพื่อใช้ปูคอนกรีต เพราะฉะนั้นความแข็งแรงจึงขึ้นอยู่กับขนาดของเหล็กเส้นและระยะห่างของตะแกรงแต่ละช่อง 

  • ตะแกรงไวร์เมชขนาด 3 มม. ตาห่างตั้งแต่ 10*10 ซม. – 25*25 ซม. นั้นส่วนใหญ่มักจะใช้ในงานปูพื้นบ้านโดยทั่วไป พื้นอาคารเป็นส่วนใหญ่ครับ 
  • ตะแกรงไวร์เมช ขนาด 4 มม. ตาห่าง 25*25 ซม. หรือ 20*20 ซม. ส่วนใหญ่ใช้ปูพื้นบ้าน โรงรถ ลานจอดรถ โรงงาน 
  • ตะแกรงไวร์เมชตั้งแต่ 6 มม. สามารถใช้ปูถนนได้เพราะสามารถรับน้ำหนักได้
  • ตะแกรงไวร์เมช 9 มม. หรือ 12 มม. ใช้ปูถนนที่ต้องการการรับแรงที่มากและรับน้ำหนักๆมาก 

จากข้อมูลเบื้องต้นเป็นข้อมูลคร่าวๆนะครับ ซึ่งตามที่ผมเข้าใจ สำหรับการใช้งานจริงๆ ต้องให้ช่างหรือผู้ที่ชำนาญในการคำนวณขนาดของไวร์เมชอีกทีครับ 

แชร์ให้เพื่อน :

กัลวาไนซ์ไวร์เมชคืออะไร

แชร์ให้เพื่อน :

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไวร์เมชคือตะแกรงเสริมคอนกรีต ที่ช่วยให้คอนกรีตแข็งแรง แต่ยังมีไวร์เมชอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กับงานฝ้า นั่นคือ กัลวาไนซ์ไวร์เมช

วิธีการติดตั้งฉนวนกั้นความร้อนโดยใช้ กัลวาไนซ์ไวร์เมช (TPK Galvaniaze Wire mesh) ในการรองรับฉนวน เชื่อมตะแกรงเหล็กใต้แป ปูน ฉนวนในช่องแป หลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ Metal Sheet ช่วยรองรับน้ำหนักของฉนวนกันความร้อนและให้งานเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น

* ติดตั้งได้ทั้งอาคารเก่าและใหม่
* โครงสร้างหลังคาที่เป็นโลหะ

แชร์ให้เพื่อน :

ไวร์เมชข้ออ้อย 

แชร์ให้เพื่อน :

ไวร์เมชข้ออ้อย 
ไวร์เมชโดยปกตินั้น ลวดเส้นจะเป็นลวดกลม แต่หากงานนั้นต้องการแรงคลาท ที่ต้องรับแรงหรือน้ำหนักมากขึ้น ช่างจะเลือกใช้ไวร์เมชข้ออ้อย จุดสังเกตุของไวร์เมชข้ออ้อยคือเส้นลวดจะไม่เรียบ จะเป็นเกลียวแบบข้ออ้อย 

การใช้ไวร์เมชข้ออ้อยนั้นจะใช้ขนาดลวดและระยะห่างแบบเดียวกับลวดเส้นกลม แต่ให้ความแข็งแรงที่มากกว่าหลายเท่า ดังนั้นกสนชนส่งไวรืเมชจึงง่าย ไม่ยุ่งยาก และรวดเร็ว

งานที่ใช้ไวร์เมชข้ออ้อยส่วนใหญ่เช่น ถนนคอนกรีต, ลานจอดรถ, รันเวย์สนามบิน, โกดัง, ที่ต้องรับแรงมากๆ


ตารางเปรียบเทียบการใช้เหล็กเส้นกลม,เหล็กเส้นข้ออ้อยในตะแกรงไวร์เมช

เหล็กเส้นกลม เหล็กเส้นข้ออ้อย
ความสามารถรับแรงดึง (Yield, Strength) Kg/cm2 2,400 4,000

ลักษณะของไวร์เมชข้ออ้อย

 

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงไวร์เมช ใช้ในงานประเภทไหนบ้าง

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงไวร์เมช ใช้ในงานประเภทไหนบ้าง
เราทราบกันดีแล้วว่า ตะแกรงไวร์เมชนั้น ใช้เพื่อเสริมคอนกรีตให้แข็งแรงขึ้น เรามาดูกันดีกว่า ตะแกรงไวร์เมชนั้นใช้ในงานแบบไหนบ้าง

– พื้นคอนกรีตทุกชนิด เช่น พื้นดิน (SLAB ON GROUN) ,พื้นอาคารบ้านเรือน พื้นลานจอดรถ เป็นต้น
– พื้นบนคาน (SUSPENDED FLOORS) , ใช้ไวร์เมชบนพื้นบนคานบ้านเพื่อช่วยให้พื้นบ้านชั้นบนมีความแข็งแรง
– หลังคา (ROOF FLOOR) พื้นแบบนี้ จะใช้ กัลวาไนซ์ไวร์เมช เพื่อรองรับฉนวนกันความร้อนที่ปู
– ปูก่อนเทคอนกรีตทับหน้า (TOPPING OF PRECAST FLOOR)
– พืนสำหรับงาน POST TENSION
– ถนนคอนกรีต ลานจอดรถ สนามบิน ลานโกดัง เป็นต้น พื้นที่ต้องรับแรงมากๆ แบบนี้ จะใช้ไวร์เมชแบบข้ออ้อย และมีขนาดลวดที่ใหญ่ตั้งแต่ 6 มม. ขึ้นไป และตาห่างต้องถี่มากขึ้น
– ผนังรับแรง (BRARING WALL) กำแพงดิน) นอกจากนี้ ไวร์เมชแบบม้วนยังใช้เพื่อก่อกำแพงเพื่อรับผนังได้อีกด้วย
– ท่อ BOX COVERT ท่อขนาดใหญ่ อย่างเข่นท่อระบายน้ำ ที่อยู่ใต้ถนนก็ใช้ ไวร์เมชเพื่อรับแรงได้เช่นกัน 

ไวร์เมชนั้นใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะใช้งานง่าย และสะดวกรวดเร็ว 

 

ลานจอดรถ ก็ใช้ไวร์เมชเสริมความแข็งแรงให้กับพื้น

 

ถนนคอนกรีต ก็ใช้ไวร์เมชเสริมความแข็งแรงให้กับพื้น

 

 

Runway สนามบินก็เลือกใช้ไวร์เมช เพื่อเสริมความแข็งแรง

แชร์ให้เพื่อน :

ประเภทของตะแกรงเหล็กไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ประเภทของตะแกรงเหล็กไวร์เมช ตะแกรงเหล็กไวร์เมชนั้น มีอยู่ 2 ประเภทคือ

1. ไวร์เมชสำหรับใช้รองก่อนเทคอนกรีต เพื่อเพิ่มความแข็งแรงตะแกรงไวร์เมชชนิดนี้จะมีเหล้กข้ออ้อย เหล็กกลม ตามแต่ชนิดของงานที่ต้องการใช้

 

2. ไวร์เมชที่เป็นตะแกรงเอาไว้รองฉนวนกันความร้อน ไวร์เมชแบบนี้ จะชุบกัลวาไนซ์ บางคนเรียกว่า กัลวาไนซ์ไวร์เมช ที่ต้องชุบกัลวาไนซ์เพราะป้องกันสนิมและเพิ่มความสวยงาม

แชร์ให้เพื่อน :

ทำไมเหล็กไวร์เมช ถึงมีทั้งเหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นข้ออ้อย

แชร์ให้เพื่อน :
ทำไมเหล็กไวร์เมช ถึงมีทั้งเหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นข้ออ้อย

ช่างหรือวิศวกรทั้งหลาย คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าไวร์เมชนั้น มีเหล็กเส้นทั้งเหล็กเส้นกลมและแบบข้ออ้อย แต่ทำไมถึงต้องมีทั้งเหล็กเส้นกลมและเหล็กเส้นข้ออ้อย
1. เหล็กเส้นข้ออ้อย สามารถรับแรงได้มากกว่า ในขนาดความหนาของเหล็กที่เท่ากัน เพราะมีลักษณะเป็นปล้องๆ คล้ายข้ออ้อยนั้นเอง
2. เพิ่มความหลากหลายในการเลือกใช้งาน ให้กับผู้ใช้งาน

แต่สุดท้ายแล้ว การเลือกใช้งาน ก็อยู่ที่ช่างหรือวิศวกร ที่จะเป็นคนตัดสินใจในการเลือกไวร์เมช มาใช้งาน

ไวร์เมชเส้นกลมเส้นเหล็กจะเรียบ
ลักษณะของไวร์เมชข้ออ้อย มีลักษณะเป็นปล้องๆ คล้ายข้ออ้อยนั่นเอง

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการผลิตตะแกรงไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการผลิตไวร์เมช

ตะแกรงไวร์เมชที่ใช้เสริมคอนกรีตนั้นมีขั้นตอนการผลิตโดยใช้เครื่องจักร ตะแกรงไวร์เมชจึงได้มาตรฐานตรงตามต้องการในการใช้งาน โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. คัดเลือกเหล็กเส้นหรือลวกเหล็กตั้งแต่ 3-6 มม. หรือมากกว่านี้โดยลวดอาจจะเป็นเหล็กเส้นข้ออ้อยก็ได้
2. นำเหล็กเข้าเครื่องอาร์คไวร์เมชโดยกำหนดขนาดช่องว่าง อาจจะมีตั้งแต่ 20*20 ซม / 25*25 ซม. เป็นต้น
3. ได้ตะแกรงไวร์เมชที่ได้มาตรฐานต่อการนำไปใช้งาน โดยตะแกรงไวร์เมชมีหลากหลาย เช่น ไวร์เมชกลมขนาดลวด 3.0-4.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 3 มม. ตาห่าง 25ซมx25 ซม. กว้าง 2 เมตร  ยาว 25 เมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 25 เมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร

ไวร์เมช ข้ออ้อย ขนาดลวด 4.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมช ข้ออ้อย 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร
* ไวร์เมช ข้ออ้อย 4 มม. ตาห่าง 15ซมx15 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร

ไวร์เมช ข้ออ้อย ขนาดลวด 6.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย  6 มม. ตา 15 ซมx15 ซม. กว้าง 3 ม. ยาว 10 เมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย  6 มม. ตา 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 ม. ยาว 6 เมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย  6 มม. ตา 20ซมx20 ซม. กว้าง 3 ม. ยาว 6 เมตร

เป็นต้น

แชร์ให้เพื่อน :

ประโยชน์ของการเลือกใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ประโยชน์ของการเลือกใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมช

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าเหล็กไวร์เมชนั้นใช้งานง่ายและรวดเร็ว แถมผู้รับเหมายังชอบที่จะใช้เหล็กไวร์เมชแทนเหล็กผูกแบบเดิมแทบทั้งหมด เรามาดูกันว่าทำไมบริษํทก่อสร้างและผู้รับเหมาจึงเลือกใช้เหล็กไวร์เมชกับงานกันครับ เหตุผลที่ผู้รับเหมาเลือกใช้เหล็กตะแกรงไวร์เมช

1. ประหยัด เพราะเป็นตะแกรงเหล็กที่มีกำลังคลากสูงกว่าเหล็กเส้นทั่วไปถึงสองเท่า จึงทำให้ประหยัดวัสดุ ประกอบกับตะแกรงเหล็กสามารถสั่งผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการ จึงไม่ทำให้เสียเศษเหล็ก ลดขั้นตอนเวลา และภาระลดความสูญเสีย
2. รวดเร็ว เพราะตะแกรงเหล็กสามารถช่วยลดขั้นตอนในการทำงานได้ถึง 50% เนื่องจากการขนส่งเคลื่อนย้ายสะดวกและรวดเร็ว สามารถนำไปใช้ได้ทันทีไม่ต้องเสียเวลาในการผูกเหล็ก ตัดและดัด ทำให้ลดเวลาในการผูกเหล็กลงได้ถึง 70-90% ถือว่าจบครั้งเดียวถ้าเลือกตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh)
3. มีความแข็งแรงสม่ำเสมอ เพราะเป็นตะแกรงเหล็กที่ผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ ทุกระยะจุดเชื่อมไม่คลาดเคลื่อนได้มาตรฐานสม่ำเสมอตลอดผืนและมีความมั่นทนแข็งแรง ไม่บิดงอ ทำให้งานเสริมเหล็กออกมาดี ซึ่งเป็นผลให้โครงสร้างมีความแข็งแรงสม่ำเสมอตลอดทั้งผืน และเหล็กยังเป็นเหล็กทีได้มาตรฐานทั้งเหล็กเส้นกลม หรือข้ออ้อย
4. ผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการใช้งาน เพราะเหล็กตะแกรงไวร์เมชนั้นผลิตจากโรงงานมาตรฐาน และเหล็กเส้นมาตรฐาน ขนาดของแผ่นหรือช่องว่าง (@) ของตะแกรงจึงเท่ากันทั้งแผ่นแน่นอน
5. ตรวจสอบปริมาณได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะเป็นแผ่นที่ขนาดเท่ากันแน่นอนของเหล็กไวร์เมชจึงตรวจสอบปริมาณของแผ่นหรือคิดคำนวณการใช้งานเป็นตารางเมตรได้อย่างแน่นอนและแม่นยำ
6. ใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น การใช้เหล็กไวร์เมชเพื่อปูพื้นถนน  ,ปูพื้นโรงงาน ,ปูพื้นลาดจอดรถ ปูพื้นโกดังเก็บของ มาดูประเภทของเหล็กไวร์เมชและประเภทของการใช้งานกัน
7. กำลังคลาทสูงกว่าเหล็กผูกแบบปกติ เพราะเหล็กตะแกรงไวร์เมชนั้นทำจากโรงงานและมีขนาดเท่ากันทั้งแผ่นจริงทำให้ ได้กำลังคลาทที่สูงกว่าเหล็กผูกแบบปกติ แน่นอน
8. กำหนดเวลาเสร็จได้แน่นอน เพราะใช้งานง่ายจริงทำให้ประหยัดเวลาและสามารถกำหนดเวลาที่งานเสร็จได้ค่อนข้างแน่นอน
9. รวดเร็วในการทำงาน เพราะเหล็กตะแกรงไวร์เมชนั้น ใช้งานง่าย รวดเร็ว
10. ผู้รับเหมาทั่วไป หรือแม้กระทั่งบริษัทใหญ่ก็เลือกใช้งานเหล็กไวร์เมช ในการเทคอนกรีตเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับพื้น

แชร์ให้เพื่อน :

ไวร์เมชแบบม้วนและไวร์เมชแบบแผงต่างกันอย่างไร 

แชร์ให้เพื่อน :

ไวร์เมชแบบม้วนและไวร์เมชแบบแผงต่างกันอย่างไร 

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าไวร์เมชนั้นใช้เพื่อเสริมคอนกรีตให้แข็งแรง และไวร์เมชนั้นไม่ได้มีแต่แบบม้วน หรือแบบแผง แต่เพียงอย่างเดียว ไวร์เมชที่ได้ทั้ง 2 แบบทั้งไวร์เมชแบบม้วน และไวร์เมชแบบแผงดังนี้
1. ไวร์เมชแบบม้วน โดยส่วนใหญ่ไวร์เมชแบบม้วนจะทำจากลวดเส้นเล็ก ตั้งแต่ 4 มิล ลงมาเพราะลวดเส้นเล็กจะม้วนหรืองอได้ แต่ก็มีความแข็งแรงคงทนเพียงพอที่จะใช้งานได้ สำหรับงานเช่น พื้นอาคารบ้านเรือนทั่วไป, โรงจอดรถในบ้าน เป็นต้น 

 

2. ไวร์เมชแบบแผง ไวร์เมชชนิดนี้ จะมีความแข็งแรงและลวดมีขนาดใหญ่ตั้งแต่  6 มิลขึ้นไป และลวดอาจจะเป็นลวดข้ออ้อยก็ได้ โดยการใช้ไวร์เมชชนิดนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับงานที่ต้องการความแข็งแรงมาก เช่น ถนนคอนกรีต, ลานจอดรถในห้าง, พื้นโกดังโรงงาน, ลานสนามบิน เป็นต้น 

รู้อย่างนี้แล้ว ก่อนเลือกใช้ไวร์เมชช่างก็ต้องดูว่า แบบม้วนหรือแบบแผงเหมาะกับงานที่จะทำ แบบไหนเหมาะมากกว่า



แชร์ให้เพื่อน :