ขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช สำหรับขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช ลูกค้าควรทำตามขั้นตอนดังนี้ครับ 


2. แจ้ง รายละเอียดตามนี้ครับ

  • ชื่อ ชื่อบริษัท เบอร์โทร  /
  • ไวร์เมช ลวด กี่ มม / ตาเท่าไหร่ / ใช้กี่ ตรม.
  • ส่งหน้างานที่ไหน

3. รอเซลล์ติดต่อกลับ ครับ

แชร์ให้เพื่อน :

รู้จักกับตะแกรงเหล็กไวร์เมช ทีพีเค

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช ทีพีเค
สำหรับช่างก่อสร้างหรือวิศวกรที่ทำงานด้านก่อสร้างอาคาร ก็คงรู้จักกับตะแกรงเหล็กไวร์เมชกันเป็นอย่างดีและเคยใช้งานตะแกรงไวร์เมชกันมาแล้วอย่างแน่นอน และรู้จักว่าตะแกรงไวร์เมชคืออะไร และมีหน้าที่อย่างไร วันนี้เรามารู้จักตะแกรงไวร์เมช ทีพีเค กัน

ตะแกรงเหล็กเสริมคอนกรีตไวท์เมชทีพีเค ภายใต้เครื่องหมายการค้า TPK(ทีพีเค)  เราดำเนินงานด้วยนโยบายการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม มีคุณภาพที่คุณมั่นใจได้  และ การบริการขนส่งที่ตรงต่อเวลาจนได้รับมาตรฐาน 

  • มอก.747-2531 ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีต
  • มอก.943-2533 ลวดเหล็กกล้าข้ออ้อยดึงเย็นเสริมคอนกรีต
  • มอก.737-2549 ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต

ซึ่งคุณมั่นใจได้อย่างแน่นอนด้วยมาตรฐานดังกล่าวและ บริษัทจะยังคงมุ่งเน้นการดำเนินงานให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ สูงสุดทั้งด้านการผลิต และการบริการที่ดี ด้วยปัจจัยดังกล่าวจึงส่งผลให้ บริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบกับความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นกลุ่มก่อสร้างอาคารบ้านเรือนหรือสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ถนน

ตะแกรงไวร์เมช ทีพีเค คือตะแกรงไวร์เมชที่ช่างหรือวิศวกรเลือกใช้งาน


ข้อมูลเพิ่มเติมของตะแกรงไวร์เมชทีพีเค

ตะแกรงเหล็กไวร์เมชคือะไร https://www.tpkrungrueangkit.com/ความรู้เรื่องเหล็ก/เหล็กไวร์เมชคืออะไรและ/

ตะแกรงไวร์เมชทีพีเค https://www.tpkrungrueangkit.com/สินค้าของเรา/wire-mesh/

วิธีการเลือกใช้งานไวร์เมช https://www.tpkrungrueangkit.com/ความรู้เรื่องเหล็ก/เลือกซื้อไวเมทอย่างไรใ/

ตะแกรงไวร์เมชทีพีเค https://www.tpkrungrueangkit.com/ตะแกรงเหล็ก-ที-พี-เค/

 

แชร์ให้เพื่อน :

กัลวาไนซ์ไวร์เมชคืออะไร

แชร์ให้เพื่อน :

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไวร์เมชคือตะแกรงเสริมคอนกรีต ที่ช่วยให้คอนกรีตแข็งแรง แต่ยังมีไวร์เมชอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กับงานฝ้า นั่นคือ กัลวาไนซ์ไวร์เมช

วิธีการติดตั้งฉนวนกั้นความร้อนโดยใช้ กัลวาไนซ์ไวร์เมช (TPK Galvaniaze Wire mesh) ในการรองรับฉนวน เชื่อมตะแกรงเหล็กใต้แป ปูน ฉนวนในช่องแป หลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ Metal Sheet ช่วยรองรับน้ำหนักของฉนวนกันความร้อนและให้งานเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น

* ติดตั้งได้ทั้งอาคารเก่าและใหม่
* โครงสร้างหลังคาที่เป็นโลหะ

แชร์ให้เพื่อน :

การเลือกซื้อไวร์เมชให้เหมาะสมกับงานก่อสร้าง

แชร์ให้เพื่อน :

การเลือกซื้อไวร์เมชให้เหมาะสมกับงานก่อสร้าง
* เลือกซื้อไวร์เมชจากโรงงานที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ ม.อ.ก. 737-2549 ASTM A185-79, BS4483  ซึ่งคุณมั่นใจได้ว่าเป็นไวร์เมชได้มาตรฐานอย่างแน่นอน
* เลือกใช้ไวร์เมชให้เหมาะกับลักษณะงานเช่น งานปูพื้นบ้าน ซึ่งรับแรงไม่มาก ก็ใช้ไวร์เมชที่ลวดที่เส้นไม่ใหญ่นัก และตาห่างไม่ต้องถี่ก็ได้ แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องรับแรงมากๆ เช่นงานทำถนน อาจจะต้องเลือกไวร์เมชที่ลวดเส้นใหญ่เช่นลวด 6 มม. ขึ้นไปและตาห่างมาขึ้น และลวดอาจจะเป็นลวดข้ออ้อยก็จะดีมาก
* เลือกซื้อไวร์เมชจากบริษัทที่มีบริการขนส่ง เพราะการขนส่งจากบริษัทจะง่ายไม่ยุ่งยาก และประหยัดค่าใช้จ่ายตีรถไปรับสินค้าเอง
* วัดขนาดพื้นที่ของหน้างานก่อนทำการสั่งไวร์เมช เพื่อจะได้คำนวนพื้นที่งาน และสั่งไวร์เมชได้ตามขนาดที่ต้องการใช้งาน

 

แชร์ให้เพื่อน :

ไวร์เมชข้ออ้อย 

แชร์ให้เพื่อน :

ไวร์เมชข้ออ้อย 
ไวร์เมชโดยปกตินั้น ลวดเส้นจะเป็นลวดกลม แต่หากงานนั้นต้องการแรงคลาท ที่ต้องรับแรงหรือน้ำหนักมากขึ้น ช่างจะเลือกใช้ไวร์เมชข้ออ้อย จุดสังเกตุของไวร์เมชข้ออ้อยคือเส้นลวดจะไม่เรียบ จะเป็นเกลียวแบบข้ออ้อย 

การใช้ไวร์เมชข้ออ้อยนั้นจะใช้ขนาดลวดและระยะห่างแบบเดียวกับลวดเส้นกลม แต่ให้ความแข็งแรงที่มากกว่าหลายเท่า ดังนั้นกสนชนส่งไวรืเมชจึงง่าย ไม่ยุ่งยาก และรวดเร็ว

งานที่ใช้ไวร์เมชข้ออ้อยส่วนใหญ่เช่น ถนนคอนกรีต, ลานจอดรถ, รันเวย์สนามบิน, โกดัง, ที่ต้องรับแรงมากๆ


ตารางเปรียบเทียบการใช้เหล็กเส้นกลม,เหล็กเส้นข้ออ้อยในตะแกรงไวร์เมช

เหล็กเส้นกลม เหล็กเส้นข้ออ้อย
ความสามารถรับแรงดึง (Yield, Strength) Kg/cm2 2,400 4,000

ลักษณะของไวร์เมชข้ออ้อย

 

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงไวร์เมช ใช้ในงานประเภทไหนบ้าง

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงไวร์เมช ใช้ในงานประเภทไหนบ้าง
เราทราบกันดีแล้วว่า ตะแกรงไวร์เมชนั้น ใช้เพื่อเสริมคอนกรีตให้แข็งแรงขึ้น เรามาดูกันดีกว่า ตะแกรงไวร์เมชนั้นใช้ในงานแบบไหนบ้าง

– พื้นคอนกรีตทุกชนิด เช่น พื้นดิน (SLAB ON GROUN) ,พื้นอาคารบ้านเรือน พื้นลานจอดรถ เป็นต้น
– พื้นบนคาน (SUSPENDED FLOORS) , ใช้ไวร์เมชบนพื้นบนคานบ้านเพื่อช่วยให้พื้นบ้านชั้นบนมีความแข็งแรง
– หลังคา (ROOF FLOOR) พื้นแบบนี้ จะใช้ กัลวาไนซ์ไวร์เมช เพื่อรองรับฉนวนกันความร้อนที่ปู
– ปูก่อนเทคอนกรีตทับหน้า (TOPPING OF PRECAST FLOOR)
– พืนสำหรับงาน POST TENSION
– ถนนคอนกรีต ลานจอดรถ สนามบิน ลานโกดัง เป็นต้น พื้นที่ต้องรับแรงมากๆ แบบนี้ จะใช้ไวร์เมชแบบข้ออ้อย และมีขนาดลวดที่ใหญ่ตั้งแต่ 6 มม. ขึ้นไป และตาห่างต้องถี่มากขึ้น
– ผนังรับแรง (BRARING WALL) กำแพงดิน) นอกจากนี้ ไวร์เมชแบบม้วนยังใช้เพื่อก่อกำแพงเพื่อรับผนังได้อีกด้วย
– ท่อ BOX COVERT ท่อขนาดใหญ่ อย่างเข่นท่อระบายน้ำ ที่อยู่ใต้ถนนก็ใช้ ไวร์เมชเพื่อรับแรงได้เช่นกัน 

ไวร์เมชนั้นใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะใช้งานง่าย และสะดวกรวดเร็ว 

 

ลานจอดรถ ก็ใช้ไวร์เมชเสริมความแข็งแรงให้กับพื้น

 

ถนนคอนกรีต ก็ใช้ไวร์เมชเสริมความแข็งแรงให้กับพื้น

 

 

Runway สนามบินก็เลือกใช้ไวร์เมช เพื่อเสริมความแข็งแรง

แชร์ให้เพื่อน :

เช็คราคาไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

เช็คราคาไวร์เมชได้ที่นี่!!!
เนื่องจากราคาเหล็กที่เป็นวัตถุดิบ มีราคาขึ้นลงตามสภาวะตลาด ดังนั้นราคาไวร์เมช ตะแกรง wire mesh จึงมีการปรับราคาขึ้นลงเช่นกัน

ลูกค้าสามารถเช็คราคาไวร์เมชโดย

 

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงไวร์เมช 4 มม.

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงไวร์เมช 4 มม. คืออะไร 

ตะแกรงไวร์เมชนั้นมีหลายขนาดและหลายแบบมาก ขึ้นอยู่กับการใช้งานเช่นถ้าปูพื้นบ้าน สำหรับไวร์เมชที่นิยมใช้กันมากก็คือ ตะแกรงไวร์เมชแบบ 4 มม. ระยะห่างก็มีตั้งแต่ 20*20 ซม. / 25*25 ซม. 

แต่ถ้าใช้ปูพื้นถนนก็ใช้ลวดที่ใหญ่ขึ้นมาอีกเช่น ลวด 6 มม. หรือ 9 มม. ไปเลย เพราะฉะนั้นตะแกรงไวร์เมช 4 มม. จึงเหมาะกับงานปูพื้นบ้าน หรือทำบ้านพักทั่วไป 

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการผลิตตะแกรงไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการผลิตไวร์เมช

ตะแกรงไวร์เมชที่ใช้เสริมคอนกรีตนั้นมีขั้นตอนการผลิตโดยใช้เครื่องจักร ตะแกรงไวร์เมชจึงได้มาตรฐานตรงตามต้องการในการใช้งาน โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. คัดเลือกเหล็กเส้นหรือลวกเหล็กตั้งแต่ 3-6 มม. หรือมากกว่านี้โดยลวดอาจจะเป็นเหล็กเส้นข้ออ้อยก็ได้
2. นำเหล็กเข้าเครื่องอาร์คไวร์เมชโดยกำหนดขนาดช่องว่าง อาจจะมีตั้งแต่ 20*20 ซม / 25*25 ซม. เป็นต้น
3. ได้ตะแกรงไวร์เมชที่ได้มาตรฐานต่อการนำไปใช้งาน โดยตะแกรงไวร์เมชมีหลากหลาย เช่น ไวร์เมชกลมขนาดลวด 3.0-4.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 3 มม. ตาห่าง 25ซมx25 ซม. กว้าง 2 เมตร  ยาว 25 เมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 25 เมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร

ไวร์เมช ข้ออ้อย ขนาดลวด 4.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมช ข้ออ้อย 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร
* ไวร์เมช ข้ออ้อย 4 มม. ตาห่าง 15ซมx15 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร

ไวร์เมช ข้ออ้อย ขนาดลวด 6.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย  6 มม. ตา 15 ซมx15 ซม. กว้าง 3 ม. ยาว 10 เมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย  6 มม. ตา 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 ม. ยาว 6 เมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย  6 มม. ตา 20ซมx20 ซม. กว้าง 3 ม. ยาว 6 เมตร

เป็นต้น

แชร์ให้เพื่อน :

ไวร์เมชแบบม้วนและไวร์เมชแบบแผงต่างกันอย่างไร 

แชร์ให้เพื่อน :

ไวร์เมชแบบม้วนและไวร์เมชแบบแผงต่างกันอย่างไร 

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าไวร์เมชนั้นใช้เพื่อเสริมคอนกรีตให้แข็งแรง และไวร์เมชนั้นไม่ได้มีแต่แบบม้วน หรือแบบแผง แต่เพียงอย่างเดียว ไวร์เมชที่ได้ทั้ง 2 แบบทั้งไวร์เมชแบบม้วน และไวร์เมชแบบแผงดังนี้
1. ไวร์เมชแบบม้วน โดยส่วนใหญ่ไวร์เมชแบบม้วนจะทำจากลวดเส้นเล็ก ตั้งแต่ 4 มิล ลงมาเพราะลวดเส้นเล็กจะม้วนหรืองอได้ แต่ก็มีความแข็งแรงคงทนเพียงพอที่จะใช้งานได้ สำหรับงานเช่น พื้นอาคารบ้านเรือนทั่วไป, โรงจอดรถในบ้าน เป็นต้น 

 

2. ไวร์เมชแบบแผง ไวร์เมชชนิดนี้ จะมีความแข็งแรงและลวดมีขนาดใหญ่ตั้งแต่  6 มิลขึ้นไป และลวดอาจจะเป็นลวดข้ออ้อยก็ได้ โดยการใช้ไวร์เมชชนิดนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับงานที่ต้องการความแข็งแรงมาก เช่น ถนนคอนกรีต, ลานจอดรถในห้าง, พื้นโกดังโรงงาน, ลานสนามบิน เป็นต้น 

รู้อย่างนี้แล้ว ก่อนเลือกใช้ไวร์เมชช่างก็ต้องดูว่า แบบม้วนหรือแบบแผงเหมาะกับงานที่จะทำ แบบไหนเหมาะมากกว่า



แชร์ให้เพื่อน :