มารู้จักกับตะแกรงเหล็กไวร์เมช (WIREMESH)

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช,วายเมท,ไวเมท (Wire Mesh)

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh)หรือ ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) ทอติดกันเป็นผืน มีขนาดเส้นลวดขนาดต่างๆตั้งแต่ 3 มม.- 6 มม. อาร์คเชื่อมติดกันด้วยไฟฟ้าทำให้จุดตัดทุกจุดหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ระยะห่างของเส้นลวดหรือที่นิยมเรียกว่า @มีหลายขนาด เช่น 15*15 นิ้ว / 20*20 นิ้ว / 25*25 นิ้ว สามารถตัดเป็นแผงและเป็นม้วนได้ตามความต้องการโดยไม่เสียเศษ จะใช้แทนการผูกเหล็กเส้นธรรมดาทั่วไปเป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และแรงงานได้มากกว่า 80% และมีความสม่ำเสมอของตะแกรงที่แน่นอน

การใช้งานไวร์เมชนั้นจะนำไปใช้เพื่อเป็นฐานรับแรงหรือรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง ที่นิยมมากๆก็คือนำไปวางเพื่อทำพื้นถนน ทั้งนี้เพราะช่วยให้ถนนรับแรงและน้ำหนักได้มากขึ้น ไม่แตกเมื่อรับน้ำหนักมากๆและยังช่วยยึดเกาะพื้นถนนได้ดีอีกด้วย 


ขนาดของตะแกรงไวร์เมช

ขนาดลวด (มม.) ชนิดลวด ขนาดระยะห่าง (@) ขนาดตาราง สั่งผลิตได้
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 15*15 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 20*20 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 25*25 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 50*50 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 20*20 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 25*25 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 50*50 สั่งตัดได้ตามหน้างาน

แชร์ให้เพื่อน :

ขนาดไวร์เมชที่เหมาะสมกับงานแต่ละอย่าง

แชร์ให้เพื่อน :

สวัสดีครับ สำหรับช่างมือใหม่ที่ยังไม่ค่อยชำนาญในการเลือกใช้ตะแกรงไวร์เมช วันนี้เรามาดูกันดีกว่าครับว่า ตะแกรงไวร์เมชที่ใช้รองเพื่อปูคอนกรีตนั้น หรือเพื่อเสริมความแข็งแรงคอนกรีตนั้น มีขนาดและการใช้งานอย่างไรบ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับหน้างานหรืองานที่ต้องการใช้ครับ โดยประสบการณ์ของผมที่ขายไวร์เมชมานาน พอจะสรุปได้ดังนี้ ครับ

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ตะแกรงไวร์เมชนั้น คือเส้นลวดหรือเหล้กเส้นขนาดต่างๆ ที่นำมาทำเป็นตะแกรงเพื่อใช้ปูคอนกรีต เพราะฉะนั้นความแข็งแรงจึงขึ้นอยู่กับขนาดของเหล็กเส้นและระยะห่างของตะแกรงแต่ละช่อง 

  • ตะแกรงไวร์เมชขนาด 3 มม. ตาห่างตั้งแต่ 10*10 ซม. – 25*25 ซม. นั้นส่วนใหญ่มักจะใช้ในงานปูพื้นบ้านโดยทั่วไป พื้นอาคารเป็นส่วนใหญ่ครับ 
  • ตะแกรงไวร์เมช ขนาด 4 มม. ตาห่าง 25*25 ซม. หรือ 20*20 ซม. ส่วนใหญ่ใช้ปูพื้นบ้าน โรงรถ ลานจอดรถ โรงงาน 
  • ตะแกรงไวร์เมชตั้งแต่ 6 มม. สามารถใช้ปูถนนได้เพราะสามารถรับน้ำหนักได้
  • ตะแกรงไวร์เมช 9 มม. หรือ 12 มม. ใช้ปูถนนที่ต้องการการรับแรงที่มากและรับน้ำหนักๆมาก 

จากข้อมูลเบื้องต้นเป็นข้อมูลคร่าวๆนะครับ ซึ่งตามที่ผมเข้าใจ สำหรับการใช้งานจริงๆ ต้องให้ช่างหรือผู้ที่ชำนาญในการคำนวณขนาดของไวร์เมชอีกทีครับ 

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช สำหรับขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช ลูกค้าควรทำตามขั้นตอนดังนี้ครับ 


2. แจ้ง รายละเอียดตามนี้ครับ

  • ชื่อ ชื่อบริษัท เบอร์โทร  /
  • ไวร์เมช ลวด กี่ มม / ตาเท่าไหร่ / ใช้กี่ ตรม.
  • ส่งหน้างานที่ไหน

3. รอเซลล์ติดต่อกลับ ครับ

แชร์ให้เพื่อน :

รู้จักกับตะแกรงเหล็กไวร์เมช ทีพีเค

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช ทีพีเค
สำหรับช่างก่อสร้างหรือวิศวกรที่ทำงานด้านก่อสร้างอาคาร ก็คงรู้จักกับตะแกรงเหล็กไวร์เมชกันเป็นอย่างดีและเคยใช้งานตะแกรงไวร์เมชกันมาแล้วอย่างแน่นอน และรู้จักว่าตะแกรงไวร์เมชคืออะไร และมีหน้าที่อย่างไร วันนี้เรามารู้จักตะแกรงไวร์เมช ทีพีเค กัน

ตะแกรงเหล็กเสริมคอนกรีตไวท์เมชทีพีเค ภายใต้เครื่องหมายการค้า TPK(ทีพีเค)  เราดำเนินงานด้วยนโยบายการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม มีคุณภาพที่คุณมั่นใจได้  และ การบริการขนส่งที่ตรงต่อเวลาจนได้รับมาตรฐาน 

  • มอก.747-2531 ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีต
  • มอก.943-2533 ลวดเหล็กกล้าข้ออ้อยดึงเย็นเสริมคอนกรีต
  • มอก.737-2549 ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต

ซึ่งคุณมั่นใจได้อย่างแน่นอนด้วยมาตรฐานดังกล่าวและ บริษัทจะยังคงมุ่งเน้นการดำเนินงานให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ สูงสุดทั้งด้านการผลิต และการบริการที่ดี ด้วยปัจจัยดังกล่าวจึงส่งผลให้ บริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบกับความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นกลุ่มก่อสร้างอาคารบ้านเรือนหรือสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ถนน

ตะแกรงไวร์เมช ทีพีเค คือตะแกรงไวร์เมชที่ช่างหรือวิศวกรเลือกใช้งาน


ข้อมูลเพิ่มเติมของตะแกรงไวร์เมชทีพีเค

ตะแกรงเหล็กไวร์เมชคือะไร https://www.tpkrungrueangkit.com/ความรู้เรื่องเหล็ก/เหล็กไวร์เมชคืออะไรและ/

ตะแกรงไวร์เมชทีพีเค https://www.tpkrungrueangkit.com/สินค้าของเรา/wire-mesh/

วิธีการเลือกใช้งานไวร์เมช https://www.tpkrungrueangkit.com/ความรู้เรื่องเหล็ก/เลือกซื้อไวเมทอย่างไรใ/

ตะแกรงไวร์เมชทีพีเค https://www.tpkrungrueangkit.com/ตะแกรงเหล็ก-ที-พี-เค/

 

แชร์ให้เพื่อน :

กัลวาไนซ์ไวร์เมชคืออะไร

แชร์ให้เพื่อน :

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ไวร์เมชคือตะแกรงเสริมคอนกรีต ที่ช่วยให้คอนกรีตแข็งแรง แต่ยังมีไวร์เมชอีกชนิดหนึ่งที่ใช้กับงานฝ้า นั่นคือ กัลวาไนซ์ไวร์เมช

วิธีการติดตั้งฉนวนกั้นความร้อนโดยใช้ กัลวาไนซ์ไวร์เมช (TPK Galvaniaze Wire mesh) ในการรองรับฉนวน เชื่อมตะแกรงเหล็กใต้แป ปูน ฉนวนในช่องแป หลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ Metal Sheet ช่วยรองรับน้ำหนักของฉนวนกันความร้อนและให้งานเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น

* ติดตั้งได้ทั้งอาคารเก่าและใหม่
* โครงสร้างหลังคาที่เป็นโลหะ

แชร์ให้เพื่อน :

การเลือกซื้อไวร์เมชให้เหมาะสมกับงานก่อสร้าง

แชร์ให้เพื่อน :

การเลือกซื้อไวร์เมชให้เหมาะสมกับงานก่อสร้าง
* เลือกซื้อไวร์เมชจากโรงงานที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ ม.อ.ก. 737-2549 ASTM A185-79, BS4483  ซึ่งคุณมั่นใจได้ว่าเป็นไวร์เมชได้มาตรฐานอย่างแน่นอน
* เลือกใช้ไวร์เมชให้เหมาะกับลักษณะงานเช่น งานปูพื้นบ้าน ซึ่งรับแรงไม่มาก ก็ใช้ไวร์เมชที่ลวดที่เส้นไม่ใหญ่นัก และตาห่างไม่ต้องถี่ก็ได้ แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องรับแรงมากๆ เช่นงานทำถนน อาจจะต้องเลือกไวร์เมชที่ลวดเส้นใหญ่เช่นลวด 6 มม. ขึ้นไปและตาห่างมาขึ้น และลวดอาจจะเป็นลวดข้ออ้อยก็จะดีมาก
* เลือกซื้อไวร์เมชจากบริษัทที่มีบริการขนส่ง เพราะการขนส่งจากบริษัทจะง่ายไม่ยุ่งยาก และประหยัดค่าใช้จ่ายตีรถไปรับสินค้าเอง
* วัดขนาดพื้นที่ของหน้างานก่อนทำการสั่งไวร์เมช เพื่อจะได้คำนวนพื้นที่งาน และสั่งไวร์เมชได้ตามขนาดที่ต้องการใช้งาน

 

แชร์ให้เพื่อน :

ไวร์เมชข้ออ้อย 

แชร์ให้เพื่อน :

ไวร์เมชข้ออ้อย 
ไวร์เมชโดยปกตินั้น ลวดเส้นจะเป็นลวดกลม แต่หากงานนั้นต้องการแรงคลาท ที่ต้องรับแรงหรือน้ำหนักมากขึ้น ช่างจะเลือกใช้ไวร์เมชข้ออ้อย จุดสังเกตุของไวร์เมชข้ออ้อยคือเส้นลวดจะไม่เรียบ จะเป็นเกลียวแบบข้ออ้อย 

การใช้ไวร์เมชข้ออ้อยนั้นจะใช้ขนาดลวดและระยะห่างแบบเดียวกับลวดเส้นกลม แต่ให้ความแข็งแรงที่มากกว่าหลายเท่า ดังนั้นกสนชนส่งไวรืเมชจึงง่าย ไม่ยุ่งยาก และรวดเร็ว

งานที่ใช้ไวร์เมชข้ออ้อยส่วนใหญ่เช่น ถนนคอนกรีต, ลานจอดรถ, รันเวย์สนามบิน, โกดัง, ที่ต้องรับแรงมากๆ


ตารางเปรียบเทียบการใช้เหล็กเส้นกลม,เหล็กเส้นข้ออ้อยในตะแกรงไวร์เมช

เหล็กเส้นกลม เหล็กเส้นข้ออ้อย
ความสามารถรับแรงดึง (Yield, Strength) Kg/cm2 2,400 4,000

ลักษณะของไวร์เมชข้ออ้อย

 

แชร์ให้เพื่อน :

ประเภทของตะแกรงเหล็กไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ประเภทของตะแกรงเหล็กไวร์เมช ตะแกรงเหล็กไวร์เมชนั้น มีอยู่ 2 ประเภทคือ

1. ไวร์เมชสำหรับใช้รองก่อนเทคอนกรีต เพื่อเพิ่มความแข็งแรงตะแกรงไวร์เมชชนิดนี้จะมีเหล้กข้ออ้อย เหล็กกลม ตามแต่ชนิดของงานที่ต้องการใช้

 

2. ไวร์เมชที่เป็นตะแกรงเอาไว้รองฉนวนกันความร้อน ไวร์เมชแบบนี้ จะชุบกัลวาไนซ์ บางคนเรียกว่า กัลวาไนซ์ไวร์เมช ที่ต้องชุบกัลวาไนซ์เพราะป้องกันสนิมและเพิ่มความสวยงาม

แชร์ให้เพื่อน :

เช็คราคาไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

เช็คราคาไวร์เมชได้ที่นี่!!!
เนื่องจากราคาเหล็กที่เป็นวัตถุดิบ มีราคาขึ้นลงตามสภาวะตลาด ดังนั้นราคาไวร์เมช ตะแกรง wire mesh จึงมีการปรับราคาขึ้นลงเช่นกัน

ลูกค้าสามารถเช็คราคาไวร์เมชโดย

 

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการผลิตตะแกรงไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการผลิตไวร์เมช

ตะแกรงไวร์เมชที่ใช้เสริมคอนกรีตนั้นมีขั้นตอนการผลิตโดยใช้เครื่องจักร ตะแกรงไวร์เมชจึงได้มาตรฐานตรงตามต้องการในการใช้งาน โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. คัดเลือกเหล็กเส้นหรือลวกเหล็กตั้งแต่ 3-6 มม. หรือมากกว่านี้โดยลวดอาจจะเป็นเหล็กเส้นข้ออ้อยก็ได้
2. นำเหล็กเข้าเครื่องอาร์คไวร์เมชโดยกำหนดขนาดช่องว่าง อาจจะมีตั้งแต่ 20*20 ซม / 25*25 ซม. เป็นต้น
3. ได้ตะแกรงไวร์เมชที่ได้มาตรฐานต่อการนำไปใช้งาน โดยตะแกรงไวร์เมชมีหลากหลาย เช่น ไวร์เมชกลมขนาดลวด 3.0-4.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 3 มม. ตาห่าง 25ซมx25 ซม. กว้าง 2 เมตร  ยาว 25 เมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 25 เมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร

ไวร์เมช ข้ออ้อย ขนาดลวด 4.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมช ข้ออ้อย 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร
* ไวร์เมช ข้ออ้อย 4 มม. ตาห่าง 15ซมx15 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร

ไวร์เมช ข้ออ้อย ขนาดลวด 6.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย  6 มม. ตา 15 ซมx15 ซม. กว้าง 3 ม. ยาว 10 เมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย  6 มม. ตา 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 ม. ยาว 6 เมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย  6 มม. ตา 20ซมx20 ซม. กว้าง 3 ม. ยาว 6 เมตร

เป็นต้น

แชร์ให้เพื่อน :