รวมรวมบทความเกี่ยวกับไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

รวบรวมบทความเกี่ยวกับไวร์เมชครับ

แชร์ให้เพื่อน :

มารู้จักกับตะแกรงเหล็กไวร์เมช (WIREMESH)

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช,วายเมท,ไวเมท (Wire Mesh)

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh)หรือ ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) ทอติดกันเป็นผืน มีขนาดเส้นลวดขนาดต่างๆตั้งแต่ 3 มม.- 6 มม. อาร์คเชื่อมติดกันด้วยไฟฟ้าทำให้จุดตัดทุกจุดหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ระยะห่างของเส้นลวดหรือที่นิยมเรียกว่า @มีหลายขนาด เช่น 15*15 นิ้ว / 20*20 นิ้ว / 25*25 นิ้ว สามารถตัดเป็นแผงและเป็นม้วนได้ตามความต้องการโดยไม่เสียเศษ จะใช้แทนการผูกเหล็กเส้นธรรมดาทั่วไปเป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และแรงงานได้มากกว่า 80% และมีความสม่ำเสมอของตะแกรงที่แน่นอน

การใช้งานไวร์เมชนั้นจะนำไปใช้เพื่อเป็นฐานรับแรงหรือรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง ที่นิยมมากๆก็คือนำไปวางเพื่อทำพื้นถนน ทั้งนี้เพราะช่วยให้ถนนรับแรงและน้ำหนักได้มากขึ้น ไม่แตกเมื่อรับน้ำหนักมากๆและยังช่วยยึดเกาะพื้นถนนได้ดีอีกด้วย 


ขนาดของตะแกรงไวร์เมช

ขนาดลวด (มม.) ชนิดลวด ขนาดระยะห่าง (@) ขนาดตาราง สั่งผลิตได้
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 15*15 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 20*20 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 25*25 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 50*50 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 20*20 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 25*25 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 50*50 สั่งตัดได้ตามหน้างาน

แชร์ให้เพื่อน :

การเลือกซื้อไวร์เมชให้เหมาะสมกับงานก่อสร้าง

แชร์ให้เพื่อน :

การเลือกซื้อไวร์เมชให้เหมาะสมกับงานก่อสร้าง
* เลือกซื้อไวร์เมชจากโรงงานที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ ม.อ.ก. 737-2549 ASTM A185-79, BS4483  ซึ่งคุณมั่นใจได้ว่าเป็นไวร์เมชได้มาตรฐานอย่างแน่นอน
* เลือกใช้ไวร์เมชให้เหมาะกับลักษณะงานเช่น งานปูพื้นบ้าน ซึ่งรับแรงไม่มาก ก็ใช้ไวร์เมชที่ลวดที่เส้นไม่ใหญ่นัก และตาห่างไม่ต้องถี่ก็ได้ แต่ถ้าเป็นงานที่ต้องรับแรงมากๆ เช่นงานทำถนน อาจจะต้องเลือกไวร์เมชที่ลวดเส้นใหญ่เช่นลวด 6 มม. ขึ้นไปและตาห่างมาขึ้น และลวดอาจจะเป็นลวดข้ออ้อยก็จะดีมาก
* เลือกซื้อไวร์เมชจากบริษัทที่มีบริการขนส่ง เพราะการขนส่งจากบริษัทจะง่ายไม่ยุ่งยาก และประหยัดค่าใช้จ่ายตีรถไปรับสินค้าเอง
* วัดขนาดพื้นที่ของหน้างานก่อนทำการสั่งไวร์เมช เพื่อจะได้คำนวนพื้นที่งาน และสั่งไวร์เมชได้ตามขนาดที่ต้องการใช้งาน

 

แชร์ให้เพื่อน :

ที่มาของการเปลี่ยนเหล็กเส้นมัดหรือเหล็กผูก มาใช้เหล็กไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ที่มาของการเปลี่ยนเหล็กเส้นมัดหรือเหล็กผูก มาใช้เหล็กไวร์เมช

หลายคนที่ไม่ใช่ช่างยังสงสัยว่า เหล็กมัดหรือเหล็กผูกที่นำเหล็กแท่งมาผูกกับลวดผูกเหล็ก และไวร์เมช (wire mesh) คืออะไร ???
ที่จริงแล้วเหล็กเหล็กไวร์เมชคือโครงสร้างเหล็กที่ทำไว้เพื่อให้ปูนหรือซีเมนต์ ยึดเกาะติดกัน ไม่แตก เหมือนกับว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับสิ่งก่อสร้างเช่นลานจอดรถ สนามบิน ถนน พื้นบ้าน อาคาร โรงงานต่างๆ เลยก็ว่าได้

ในสมัยก่อนเรานิยมวัดพื้นที่ ความกว้าง ความยาว ขนาดของงานที่เราจะเทพื้น หรือราดคอนกรีตทำถนน ว่ากว้างเท่าไหร่ ยาวเท่าไหร่ เสร็จแล้วเราก็จะสั่งเหล็กเส้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตามที่เราได้คำนวนถึงค่าความแข็งแรงต่างๆไว้ แล้วนำมามัดหรือผูก สานให้เป็นลักษณะตาข่ายเพื่อวางไว้เป็นโครงสร้างก่อนการเทคอนกรีต เพื่อใช้รับแรงหรือเพิ่มความแข็งแรงให้กับพื้น

เหล็กผูกแบบเดิม

ที่นี้จะเห็นได้ว่ามันมีขั้นตอนที่มากมาย ยุ่งยาก ไหนจะเป็นขั้นตอนการวัด คำนวนขนาด และขั้นตอนที่เสียเวลามากที่สุด คือขั้นตอนการผูกเหล็กเส้น เพราะต้องใช้ทั้งเวลา และก็คนงาน มาทำงานทำให้เสียค่าใช้จ่าย เสียเวลาไปมาก ดังนั้นเลยมีการคิดค้นและลดขั้นตอนการผูกเหล็กลง ตอนนี้ไวร์เมช wire mesh หรือตะแกรงสำเร็จรูป ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก แทนที่การผูกเหล็กแบบเดิม  แทบได้ว่าเป็นการพลิกโฉมการเทพื้นในปัจุบันก็ว่าได้ เพราะไวร์เมช wire mesh หรือ ตะแกรงสำเร็จรูปนั้น ผลิตด้วยวิธีที่ทันสมัย ไม่ได้ใช้ลวดผูกเข้าด้วยกัน แต่เป็นการใช้การอาร์ค ให้เหล็กหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน จากการทดสอบในห้อบแลป wire mesh ทนทานต่อการรับแรงดึง มากกว่าเหล็กผูกทั่วไป ในปริมาตรเหล็กที่น้อยกว่า กล่าวคือไวเมท wire mesh ใช้เหล็กน้อยกว่า แต่ทนรับแรงดึงที่มากกว่า และมีจุดคลาทที่สูงมาก ทำให้ช่างนิยมหันมาใช้เหล็กไวร์เมชแทนการผูกเหล็กแบบเดิมเป็นอย่างมาก

และในปัจจุบันยังมีการคิดค้นเหล็กไวร์เมช ที่เรียกว่า ไซเบอร์ไวร์เมช คือเป็นลวดเส้นเล็กๆ ที่นำมารวมกับคอนกรีตและเทพื้นได้เลย แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะใช้งานค่อนข้างยุ่งยาก ไวร์เมชแบบแผ่นจริงยังได้รับความนิยมอยู่อย่างมาก

ขอบคุณ
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=dumdin&date=17-05-2013&group=1&gblog=23

แชร์ให้เพื่อน :

ประเภทของตะแกรงเหล็กไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ประเภทของตะแกรงเหล็กไวร์เมช ตะแกรงเหล็กไวร์เมชนั้น มีอยู่ 2 ประเภทคือ

1. ไวร์เมชสำหรับใช้รองก่อนเทคอนกรีต เพื่อเพิ่มความแข็งแรงตะแกรงไวร์เมชชนิดนี้จะมีเหล้กข้ออ้อย เหล็กกลม ตามแต่ชนิดของงานที่ต้องการใช้

 

2. ไวร์เมชที่เป็นตะแกรงเอาไว้รองฉนวนกันความร้อน ไวร์เมชแบบนี้ จะชุบกัลวาไนซ์ บางคนเรียกว่า กัลวาไนซ์ไวร์เมช ที่ต้องชุบกัลวาไนซ์เพราะป้องกันสนิมและเพิ่มความสวยงาม

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงไวร์เมช 4 มม.

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงไวร์เมช 4 มม. คืออะไร 

ตะแกรงไวร์เมชนั้นมีหลายขนาดและหลายแบบมาก ขึ้นอยู่กับการใช้งานเช่นถ้าปูพื้นบ้าน สำหรับไวร์เมชที่นิยมใช้กันมากก็คือ ตะแกรงไวร์เมชแบบ 4 มม. ระยะห่างก็มีตั้งแต่ 20*20 ซม. / 25*25 ซม. 

แต่ถ้าใช้ปูพื้นถนนก็ใช้ลวดที่ใหญ่ขึ้นมาอีกเช่น ลวด 6 มม. หรือ 9 มม. ไปเลย เพราะฉะนั้นตะแกรงไวร์เมช 4 มม. จึงเหมาะกับงานปูพื้นบ้าน หรือทำบ้านพักทั่วไป 

แชร์ให้เพื่อน :

หน้าที่ของตะแกรงไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

หน้าที่ของตะแกรงไวร์เมช
เรารู้แล้วว่าไวร์เมชคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าหน้าที่ของไวร์เวชนั้นมีอะไรบ้าง
1. ตะแกรงไวร์เมชนั้นช่วยให้คอนกรีตที่เทพื้นนั้นรองรับน้ำหนักได้มากขึ้น เพราะมีกำลังคลาทสูง
2. ตะแกรงไวร์เมชนั้นช่วยให้คอนกรีตเกาะตัวกันได้มากขึ้น ไม่แตกง่าย ไม่หลุดออกจากกัน จึงนิยมใช้ ไวร์เมชในงานทำถนนคอนกรีต ในหมู่บ้าน เพราะทำให้ถนนแข็งแรงขึ้นมาก และรับน้ำหนักได้มาก
3. กัลวาไนซ์ไวร์เมชคือไวร์เมชชนิดหนึ่งที่เอาไว้สำหรับปูฉนวนกันความร้อน ใช้กับงานหลังคา
4. ตะแกรงไวร์เมชช่วยให้พื้นโกดังที่ต้องรองรับน้ำหนักมากๆ แข็งแรงขึ้นมากและพื้นยุบยาก ไม่แตก

แชร์ให้เพื่อน :

ประโยชน์ของการเลือกใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ประโยชน์ของการเลือกใช้ตะแกรงเหล็กไวร์เมช

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าเหล็กไวร์เมชนั้นใช้งานง่ายและรวดเร็ว แถมผู้รับเหมายังชอบที่จะใช้เหล็กไวร์เมชแทนเหล็กผูกแบบเดิมแทบทั้งหมด เรามาดูกันว่าทำไมบริษํทก่อสร้างและผู้รับเหมาจึงเลือกใช้เหล็กไวร์เมชกับงานกันครับ เหตุผลที่ผู้รับเหมาเลือกใช้เหล็กตะแกรงไวร์เมช

1. ประหยัด เพราะเป็นตะแกรงเหล็กที่มีกำลังคลากสูงกว่าเหล็กเส้นทั่วไปถึงสองเท่า จึงทำให้ประหยัดวัสดุ ประกอบกับตะแกรงเหล็กสามารถสั่งผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการ จึงไม่ทำให้เสียเศษเหล็ก ลดขั้นตอนเวลา และภาระลดความสูญเสีย
2. รวดเร็ว เพราะตะแกรงเหล็กสามารถช่วยลดขั้นตอนในการทำงานได้ถึง 50% เนื่องจากการขนส่งเคลื่อนย้ายสะดวกและรวดเร็ว สามารถนำไปใช้ได้ทันทีไม่ต้องเสียเวลาในการผูกเหล็ก ตัดและดัด ทำให้ลดเวลาในการผูกเหล็กลงได้ถึง 70-90% ถือว่าจบครั้งเดียวถ้าเลือกตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh)
3. มีความแข็งแรงสม่ำเสมอ เพราะเป็นตะแกรงเหล็กที่ผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ ทุกระยะจุดเชื่อมไม่คลาดเคลื่อนได้มาตรฐานสม่ำเสมอตลอดผืนและมีความมั่นทนแข็งแรง ไม่บิดงอ ทำให้งานเสริมเหล็กออกมาดี ซึ่งเป็นผลให้โครงสร้างมีความแข็งแรงสม่ำเสมอตลอดทั้งผืน และเหล็กยังเป็นเหล็กทีได้มาตรฐานทั้งเหล็กเส้นกลม หรือข้ออ้อย
4. ผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการใช้งาน เพราะเหล็กตะแกรงไวร์เมชนั้นผลิตจากโรงงานมาตรฐาน และเหล็กเส้นมาตรฐาน ขนาดของแผ่นหรือช่องว่าง (@) ของตะแกรงจึงเท่ากันทั้งแผ่นแน่นอน
5. ตรวจสอบปริมาณได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะเป็นแผ่นที่ขนาดเท่ากันแน่นอนของเหล็กไวร์เมชจึงตรวจสอบปริมาณของแผ่นหรือคิดคำนวณการใช้งานเป็นตารางเมตรได้อย่างแน่นอนและแม่นยำ
6. ใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น การใช้เหล็กไวร์เมชเพื่อปูพื้นถนน  ,ปูพื้นโรงงาน ,ปูพื้นลาดจอดรถ ปูพื้นโกดังเก็บของ มาดูประเภทของเหล็กไวร์เมชและประเภทของการใช้งานกัน
7. กำลังคลาทสูงกว่าเหล็กผูกแบบปกติ เพราะเหล็กตะแกรงไวร์เมชนั้นทำจากโรงงานและมีขนาดเท่ากันทั้งแผ่นจริงทำให้ ได้กำลังคลาทที่สูงกว่าเหล็กผูกแบบปกติ แน่นอน
8. กำหนดเวลาเสร็จได้แน่นอน เพราะใช้งานง่ายจริงทำให้ประหยัดเวลาและสามารถกำหนดเวลาที่งานเสร็จได้ค่อนข้างแน่นอน
9. รวดเร็วในการทำงาน เพราะเหล็กตะแกรงไวร์เมชนั้น ใช้งานง่าย รวดเร็ว
10. ผู้รับเหมาทั่วไป หรือแม้กระทั่งบริษัทใหญ่ก็เลือกใช้งานเหล็กไวร์เมช ในการเทคอนกรีตเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับพื้น

แชร์ให้เพื่อน :