การวัดขนาดเหล็กไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมารู้วิธีการวัดขนาดของเหล็กไวร์เมชกันครับ การวัดขนาดของไวร์เมชนั้น มี 3 อย่างหลักๆดังนี้

1. ขนาดของเส้นลวด หรือเหล็กเส้น ขนาดของลวดเหล้กไวร์เมชนั้นมีขนาดตั้งแต่ 3-12 มม แล้วแต่ขนาดที่ต้องการใช้งาน

Continue reading “การวัดขนาดเหล็กไวร์เมช”

แชร์ให้เพื่อน :

ประสบการณ์เลือกใช้งานไวร์เมชสำหรับงานโครงการ

แชร์ให้เพื่อน :

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะเล่าประสบการณ์เลือกใช้งานไวร์เมชสำหรับงานโครงการกันครับ อาชีพผมเป็นผู้รับเหมาโครงการต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นโครงการคอนโดและโรงแรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องใช้ไวร์เมชอยู่เรื่อยๆ สำหรับช่างมืออาชีพคงรู้จักไวร์เมชกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่สำหรับช่างมือใหม่ ผมจะเล่าพอสังเขป
ไวร์เมชก็คือตะแกรงชนิดหนึ่งที่เอาไว้สำหรับรองคอนกรีต ซึ่งในสมัยก่อนช่างจะใช้เหล็กเส้นมามัดติดกันด้วยลวดผูกเหล็กให้เป็นตะแกรงเพื่อเทคอนกรีต แต่ตอนนี้เรามีตะแกรงไวร์เมช ซึ่งใช้งานง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีหลายขนาดให้เลือกใช้งาน เช่นลวดขนาด 4 มม. และตาห่างก็มีหลายขนาด

สำหรับไวร์เมชที่ผมใช้ในโครการคอนโดล่าสุด ผมจะใช้ คือไวร์เมชลวด 4 มม. @20*20 ขนาด 25,000 เมตร ซึ่งเป็นโครงการขนาดกลาง ผมหาข้อมูลจาก อินเตอร์เนตค่อนข้างเยอะ จนมาเจอเว้บไซต์ขาย ไวร์เมช ผมจึงสั่งและขอทดลองจากเซลล์ ซึ่งเซลล์ก็ดูแลเป็นอย่างดี มีบริการที่ดีมากครับ และค่อนข้างประทับใจ สำหรับช่างหรือวิศวกรที่ต้องการใช้งานไวร์เมชหรือใช้งานไวร์เมชเป็นประจำ ผมแนะนำเลยครับ เว็บนี้ครับ 

สาเหตุที่ผมใช้งานไวร์เมชจากที่นี่

  • มีหลายขนาดให้เลือกใช้งานตามหน้างาน
  • เซลล์น่ารักและดูแลเป็นอย่างดีครับ
  • มีบริการจัดส่งถึงหน้างาน
  • คุยต่อรองราคากันได้

แชร์ให้เพื่อน :

แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile )

แชร์ให้เพื่อน :

แผ่นใยสังเคราะห์ ( Geotextile )

ผลิต จำหน่าย GEOTEXTILE (แผ่นใยสังเคราะห์) ราคาโรงงาน พร้อมให้คำปรึกษา

สวัสดีครับ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับวัสดุชนิดหนึ่งที่เกี่ยวกับงานพื้นเช่นเดียวกันกับไวร์เมช นั่นก็คือ Geotextile หรือแผ่นใยสังเคราะห์ วัสดุชนิดนี้คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

Geotextile คือ วัสดุใยสังเคราะห์ที่มีความสามารถในการซึมผ่านของน้ำสูง มักใช้กับงานดิน ซึ่งวัสดุดังกล่าวมีความสามารถใน การแยกชั้น การกรอง การเสริมความแข็งแรง การป้องกันการชะของหน้าดินและการระบาย โดยทั่วไปทำจาก polypropylene หรือ polyester โดยทั่วไปผ้าใยสังเคราะห์ geotextile มีหลายรูปแบบได้แก่ woven, non-woven, knitted เป็นต้น

👉สั่งซื้อและสอบถาม แผ่นใย Geotextile 

ลักษณะของ Geotextile
ลักษณะของ Geotextile
Geotextile เป็นม้วน

การผลิต Geotextile

Geotextile จัดเป็นสิ่งทอสังเคราะห์( Nonwoven textile) มีลักษณะเป็นแผ่นใยสังเคราะห์ผืนใหญ่น้ำหนักเบา ทำให้เป็นผืนโดยการนำเส้นใยมาผลิตโดยตรง ไม่ต้องผ่านการท้าให้เป็นเส้นด้ายก่อน เส้นใยสามารถยึดติดกันและท้าให้แข็งแรงด้วกระบวนการเชิงกล กระบวนการทางเคมี หรือกระบวนการทางความร้อน เส้นใยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นเส้นใยประดิษฐ์ เช่น พอลิเอสเตอร์ (polyester ) ,พอลิโพรพิลีน ( polypropylene ) เป็นต้น

Geotextile เป็นสิ่งทอที่ผลิตขึ้นในงานของวิศวกรรมโยธาและอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน ควบคุมอุณหภูมิของดินและปริมาณน้ำ ป้องกันการทรุดตัวของดิน กรวด ทราย หรือหิน และใช้ในงานปรับภูมิทัศน์ หรือสวนในตึก เป็นต้น

Non woven geotextile
คือแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ โดยกรรมวิธีเข็มบดอัด ที่ผลิตจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์ หรือ โพลีโพรไพลีน

ขั้นตอนการผลิต Geotextile

คุณสมบัติของ geotextile
* เป็นแผ่นสีขาว
* ไม่มีการทอ เป็นการประสานด้วยเส้นใยประเภท polypropylene หรือ polyester และกาว
* กว้างประมาณ 2 หรือ 4 เมตร แล้วแต่โรงงานที่ผลิต
* ยาวประมาณ 100-200 เมตร แล้วแต่โรงงานที่ผลิต

ผ้าใยสังเคราะห์ (Geotextile) เป็นวัสดุป้องกันที่ใช้ออกแบบในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สามารถผลิตให้มีน้ำหนักได้ตั้งแต่ 120 กรัม/ตร.ม. จนถึง 400 กรัม/ตร.ม. ซึ่งแต่ละน้ำหนักจะมีความสามารถในการรับน้ำหนักกดทับได้ต่างกัน ตั้งแต่ 500 กิโลกรัม/ตร.ม. เป็นต้นไป การเลือกใช้ก็จะขึ้นอยู่กับงานแต่ละชนิด


ขนาดของ Geotextile 

รุ่น กว้าง (เมตร) ยาว (เมตร) น้ำหนัก (กิโลกรัม)
GOGPL 120 gram 2 100 24
GOGPL 120 gram 4 100 48
GOGPL 150 gram 2 100 30
GOGPL 150 gram 4 100 60
GOGPL 200 gram 2 100 40
GOGPL 200 gram 4 100 80
GOGPL 250 gram 2 100 50
GOGPL 250 gram 4 100 100
GOGPL 300 gram 2 100 60
GOGPL 300 gram 4 100 120
GOGPL 400 gram 2 100 80
GOGPL 400 gram 4 100 160
GOGPL 500 gram 2 100 100
GOGPL 500 gram 4 100 200

หน้าที่ของแผ่นใยสังเคราะห์ (Geotextile function)

1. ใช้ทำหน้าที่แยกชั้นวัสดุ (Separator) โดยมากจะเป็นการปูเพื่อแยกวัสดุมวลรวม 2 ชนิดที่ต่างกันออกจากกัน เพื่อเป็นการควบคุมการรวมตัว ของวัสดุที่ไม่เท่ากัน เช่น เป็นการปูรองชั้นดิน ก่อนถมวัสดุมวลรวมใหม่ เพื่อทำเป็นวัสดุรองพื้น ก่อนทำผิวหน้าเป็นคอนกรีตหรือแอสฟัลท์

คุณสมบัติหลัก ในการเลือกใช้งาน ควรเลือกวัสดุที่มีค่าการระบายน้ำสูง ค่าการยืดหยุ่นตัวที่ดี ค่าป้องกันการเจาะทะลุสูง

2. ใช้ทำหน้าเป็นวัสดุกรอง (Filter) โดยมากจะเน้นเป็นการปู เพื่อป้องกันวัสดุมวลรวม ที่เราต้องการจำกัดการเคลื่อนตัว เคลื่อนที่ไป เช่น การปูด้านหลังกล่องลวดตาข่าย (Gabion & Mattress) การปูด้านหลังการเรียงหิน การห่อหุ้มท่อระบายน้ำ

คุณสมบัติหลัก ในการเลือกใช้งาน ควรเลือกวัสดุที่มีค่าการระบายน้ำสูง ค่าการยืดหยุ่นตัวที่ดี ค่าป้องกันการเจาะ
ทะลุสูงและมีความพรุ่นต่ำ

 

การใช้งาน GEOTEXTILE

  • ใช้ปูบ่อก่อนการทำอ่างเก็บน้ำดี / น้ำเสีย ก่อนปูพลาสติกกันซึม
  • ปูบ่อขยะ
  • ปูพื้นหรือกั้นผนังดินเสริมความแข็งแรงให้เขื่อน
  • งานผนังกันดิน
  • งานถนน
  • งานสนามหญ้า / สนามกอล์ฟ
  • ระบายน้ำใต้ดิน เป็นต้น

4 วัตถุประสงค์หลักที่ใช้งาน Geotextile กันส่วนมาก ได้แก่
– การแยกชั้นวัสดุ
– การใช้เป็นวัสดุกรอง
– การใช้เป็นวัสดุเสริมกำลัง
– การใช้เป็นวัสดุระบายน้ำ

การเลือกใช้ Geotextile

หากงานก่อสร้างหรือโปรเจคที่ท่านทำอยุ๋มีความจำเป็นต้องใช้ Geotextile ท่านอาจจะมีคำถามว่าเลือกใช้ Geotextile อย่างไรดี

การเลือกใช้แผ่นใยสังเคราะห์สำหรับงานวิศวกรรมโยธา ควรดูที่วัตถุประสงค์หลักในการนำไปใช้งานก่อน เพราะจะทำให้เลือกคุณบัติของแผ่นใยสังเคราะห์ที่เหมาะสมและได้ประโยชน์สูงสุด
หลังจากนั้นอาจดูที่วัตถุประสงค์รองมาเพื่อประกอบ และอาจจะปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ

 

การติดตั้งแผ่นใยสังเคราะห์
​คำแนะนำสำหรับการต่อทาบแผ่นใยสังเคราะห์
การต่อทาบแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ
(Non woven geotextile)
ปัจจุบันการต่อทาบแผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ จะมี 2 รูปแบบ คือ
– การเย็บ ข้อดี คือ สามารถประหยัดแผ่นใยสังเคราะห์ที่จะซ้อนทับได้
– การวางทับต่อทาบ ข้อดี คือ ทำงานง่าย
การเย็บต่อทาบแผ่นใยสังเคราะห์
สามารถใช้เครื่องเย็บมือสนาม แบบด้ายเดี่ยวหรือด้ายคู่ โดยรูปแบบการเย็บที่แนะนำได้แก่ Prayer seam, J seam
การวางทับต่อทาบแผ่นใยสังเคราะห์
สามารถทำได้ด้วยการวางซ้อนทับกัน และยึดด้วยหมุดชั่วคราว เช่น เหล็ก J-pin เพื่อให้แผ่นใยสังเคราะห์อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการตามแบบ และเมื่อมีการถมวัสดุมวลรวมลงทับแล้วจะเป็นการจำกัดการเคลื่อนตัวของแผ่นใยสังเคราะห์ไปโดยปริยาย
ระยะซ้อนทับที่แนะนำ ดังนี้
– สำหรับการปูบนพื้นดินเดิมที่แน่น ระยะซ้อนทับประมาณ 30 cm.
– สำหรับการปูบนพื้นดินเดิมที่ค่อนข้างอ่อน ระยะซ้อนทับประมาณ 50 cm.
– สำหรับการปูใต้น้ำ ระยะซ้อนทับประมาณ 100 cm.


การใช้งาน Geotextile ในงานต่างๆ

การก่อสร้างบ่อทรายในสนามกอล์ฟ โดยใช้ Geotextile ปูเพื่อทำเป็นบ่อทราย ในสนามกอล์ฟ

การก่อสร้างบ่อทรายให้สวยและสะอาด ด้วยการใช้แผ่นใยสังเคราะห์ ชนิด Non woven geotextile สำหรับงานแยกชั้นวัสดุ
แผ่นใยสังเคราะหชนิดไม่ถักทอ (Non woven geotextile) สามารถนำไปใช้ในการปูเพื่อแยกชั้นทราย เพื่อไม่ให้ทรายจมตัวรวมลงไปกับดินได้ ซึ่งจะทำให้ได้ชั้นทรายที่สะอาดและสวยงาม
โดยแผ่นใยสังเคราะห์ที่ใช้ในลักษณะงานแบบนี้ ควรจะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
มีความสามารถในการระบายน้ำผ่านแผ่นได้ดีมาก มีความยืดหยุ่นตัวสูงและมีความเหนียวไม่ฉีกขาดง่าย

 

ถนนเลียบคลอง สร้างถนนเลียบคลอง ติดน้ำ ให้ใช้งานกันได้แบบยาวๆ
ต้องเน้นงานป้องกันตลิ่ง ลดการเคลื่อนตัวของคันดินเพื่อไม่ให้กระทบต่อโครงสร้างหลัก
สามารถทำหลายแบบ เช่น การใช้เขื่อนเรียงหินเป็นแนวปะทะน้ำ และใช้ Non woven geotextile สำหรับใช้เป็นวัสดุกรอง โดยยอมให้น้ำสามารถผ่านเข้าออกได้ แต่จำกัดการเคลื่อนตัวของอนุภาคดินไว้ไม่ให้เคลื่อนตามไป
ด้วยคุณสมบัติของแผ่นใยสังเคราะห์ แบบไม่ถักทอ ที่สามารถระบายน้ำสูง การยืดหยุ่นตัวสูง และฉีกขาดยาก

 

Geotextile สำหรับงานจัดสวน
ข้อดีของ Non woven geotextile สำหรับงานจัดสวน
สำหรับงานจัดสวนหินหลายที่ ที่มักใช้ตาข่ายพลาสติกมาปูรองเพื่อแยกชั้นหินออกจากพื้นดิน ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ วัชพืชจะสามารถแทงทะลุเติบโตได้ง่ายมาก
แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven geotextile) สามารถตอบโจทย์เรื่องการแยกชั้นวัสดุได้ดี สามารถระบายน้ำได้สูง และยังป้องกันวัชพืชไม่ให้ขึ้นมาได้ด้วย

Non woven geotextile for separation
ปัจจุบันการก่อสร้างสนามฟุตซอล นิยมใช้แผ่นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอ (Non woven geotextile) มาปูก่อนลงวัสดุมวลรวมชั้นสุดท้าย เพื่อทำหน้าที่เป็นการแยกชั้นวัสดุ เพิ่มสเถียรภาพชั้นรองพื้น ควบคุมการทรุดตัว และยังคงคุณสมบัติในการระบายน้ำลงสู่ดินได้ดี
อีกทั้งยังเป็นการป้องกันวัชพืชจากดินที่อาจขึ้นมาได้อีกด้วย

 

Geotextile ในการป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง
Non woven geotextile with Gabion wall
การออกแบบการกัดเซาะริมตลิ่งแม่น้ำ โดยการใช้กำแพงกล่องลวดตาข่ายเป็นแนวปะทะน้ำ
โดยเน้นการออกแบบเสถียรภาพของโครงสร้างกำแพงที่มีความมั่นคง แล้วใช้ Non woven geotextile ปูด้านหลังกำแพงติดกับชั้นดิน เพื่อเป็นวัสดุกรองให้น้ำสามารถซึมผ่านเข้าออกจากโครงสร้างได้เป็นอย่างดี แต่ไม่ยอมให้อนุภาคของดินเคลื่อนที่ตามไปด้วย เพื่อลดแรงดันน้ำที่อาจเกิดขึ้น

 

แชร์ให้เพื่อน :

รวมรวมบทความเกี่ยวกับไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

รวบรวมบทความเกี่ยวกับไวร์เมชครับ

แชร์ให้เพื่อน :

มารู้จักกับตะแกรงเหล็กไวร์เมช (WIREMESH)

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช,วายเมท,ไวเมท (Wire Mesh)

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh)หรือ ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) ทอติดกันเป็นผืน มีขนาดเส้นลวดขนาดต่างๆตั้งแต่ 3 มม.- 6 มม. อาร์คเชื่อมติดกันด้วยไฟฟ้าทำให้จุดตัดทุกจุดหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ระยะห่างของเส้นลวดหรือที่นิยมเรียกว่า @มีหลายขนาด เช่น 15*15 นิ้ว / 20*20 นิ้ว / 25*25 นิ้ว สามารถตัดเป็นแผงและเป็นม้วนได้ตามความต้องการโดยไม่เสียเศษ จะใช้แทนการผูกเหล็กเส้นธรรมดาทั่วไปเป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และแรงงานได้มากกว่า 80% และมีความสม่ำเสมอของตะแกรงที่แน่นอน

การใช้งานไวร์เมชนั้นจะนำไปใช้เพื่อเป็นฐานรับแรงหรือรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง ที่นิยมมากๆก็คือนำไปวางเพื่อทำพื้นถนน ทั้งนี้เพราะช่วยให้ถนนรับแรงและน้ำหนักได้มากขึ้น ไม่แตกเมื่อรับน้ำหนักมากๆและยังช่วยยึดเกาะพื้นถนนได้ดีอีกด้วย 


ขนาดของตะแกรงไวร์เมช

ขนาดลวด (มม.) ชนิดลวด ขนาดระยะห่าง (@) ขนาดตาราง สั่งผลิตได้
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 15*15 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 20*20 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 25*25 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 50*50 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 20*20 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 25*25 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 50*50 สั่งตัดได้ตามหน้างาน

แชร์ให้เพื่อน :

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับไวเมท 

แชร์ให้เพื่อน :

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับไวเมท

1. ตะแกรงไวเมท คือ ตะแกรงเหล็กกล้าที่เชื่อมติดกัน เพื่อเสริมคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire)ทอติดกันเป็นผืน

2. ไวเมทมีหลายขนาด ที่สำคัญต้องรู้คือ ขนาดของลวดเช่น ลวด 4-12 มม. และขนาดของช่อง @มีหลายขนาด เช่น 15*15 ซม. / 20*20 ซม. / 25*25 ซม. / 30*30 ซม.

3. ราคาของไวเมทมีการขึ้น ลงเรื่อยๆ ตามราคาเหล็ก โดยสามารถเช็คราคาไวเมท ได้ที่นี่ https://www.ไวร์เมช.net/2017/02/20/เช็คราคาไวร์เมช/

4. ไวเมท คือตะแกรงเหล็กที่รองพื้น ก่อนทำการเทคอนกรีตเพื่อเสริมกำลังให้กับคอนกรีต

5. การใช้ไวเมทช่วยทดแทนการผูกเหล็กแบบเดิม 

6. ไวเมทมีสองแบบ คือแบบเป็นม้วน และแบบเป็นแผง

7. เหล็กไวเมท มีสองแบบคือเหล็กเส้นกลม และเหล็กเส้นข้ออ้อย 

8. กัลวาไนซ์ไวเมท คือไวเมท ที่ชุบกัลวาไนซ์เพื่อกันสนิม ส่วนใหญ่จะใช้รองฉนวนกันความร้อนในบ้าน 

9. ตะแกรงเหล็กไวเมทแบบข้ออ้อย จะรับแรงได้ดีกว่าไวเมทแบบเส้นกลม ในขนาดที่เส้นลวดเท่ากัน 

10. ไวเมทของเราได้รับมาตรฐาน ม.อ.ก.737-2549 ASTM A185-79, BS4483 

แชร์ให้เพื่อน :

ขนาดไวร์เมชที่เหมาะสมกับงานแต่ละอย่าง

แชร์ให้เพื่อน :

สวัสดีครับ สำหรับช่างมือใหม่ที่ยังไม่ค่อยชำนาญในการเลือกใช้ตะแกรงไวร์เมช วันนี้เรามาดูกันดีกว่าครับว่า ตะแกรงไวร์เมชที่ใช้รองเพื่อปูคอนกรีตนั้น หรือเพื่อเสริมความแข็งแรงคอนกรีตนั้น มีขนาดและการใช้งานอย่างไรบ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับหน้างานหรืองานที่ต้องการใช้ครับ โดยประสบการณ์ของผมที่ขายไวร์เมชมานาน พอจะสรุปได้ดังนี้ ครับ

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ตะแกรงไวร์เมชนั้น คือเส้นลวดหรือเหล้กเส้นขนาดต่างๆ ที่นำมาทำเป็นตะแกรงเพื่อใช้ปูคอนกรีต เพราะฉะนั้นความแข็งแรงจึงขึ้นอยู่กับขนาดของเหล็กเส้นและระยะห่างของตะแกรงแต่ละช่อง 

  • ตะแกรงไวร์เมชขนาด 3 มม. ตาห่างตั้งแต่ 10*10 ซม. – 25*25 ซม. นั้นส่วนใหญ่มักจะใช้ในงานปูพื้นบ้านโดยทั่วไป พื้นอาคารเป็นส่วนใหญ่ครับ 
  • ตะแกรงไวร์เมช ขนาด 4 มม. ตาห่าง 25*25 ซม. หรือ 20*20 ซม. ส่วนใหญ่ใช้ปูพื้นบ้าน โรงรถ ลานจอดรถ โรงงาน 
  • ตะแกรงไวร์เมชตั้งแต่ 6 มม. สามารถใช้ปูถนนได้เพราะสามารถรับน้ำหนักได้
  • ตะแกรงไวร์เมช 9 มม. หรือ 12 มม. ใช้ปูถนนที่ต้องการการรับแรงที่มากและรับน้ำหนักๆมาก 

จากข้อมูลเบื้องต้นเป็นข้อมูลคร่าวๆนะครับ ซึ่งตามที่ผมเข้าใจ สำหรับการใช้งานจริงๆ ต้องให้ช่างหรือผู้ที่ชำนาญในการคำนวณขนาดของไวร์เมชอีกทีครับ 

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

ขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช สำหรับขั้นตอนการสั่งซื้อไวร์เมช ลูกค้าควรทำตามขั้นตอนดังนี้ครับ 


2. แจ้ง รายละเอียดตามนี้ครับ

  • ชื่อ ชื่อบริษัท เบอร์โทร  /
  • ไวร์เมช ลวด กี่ มม / ตาเท่าไหร่ / ใช้กี่ ตรม.
  • ส่งหน้างานที่ไหน

3. รอเซลล์ติดต่อกลับ ครับ

แชร์ให้เพื่อน :

ไวร์เมชคืออะไร

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh) หรือที่เรียกหลายอย่างเช่น ไวร์เมท,ไวเมช,ไวเมท,ไวเมต คือตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดกันเป็นตะแกรง เพื่อเสริมกำลังคอนกรีต ผลิตจากลวดเหล็กรีดเย็น (Cold Drawn Steel Wire) ทอติดกันเป็นผืน มีขนาดเส้นลวดขนาดต่างๆตั้งแต่ 3 มม.- 12 มม. อาร์คเชื่อมติดกันด้วยไฟฟ้าทำให้จุดตัดทุกจุดหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ระยะห่างของเส้นลวดหรือที่นิยมเรียกว่า @ มีหลายขนาด เช่น 15*15 ซม / 20*20 ซม / 25*25 ซม / 30* 30 ซม. สามารถตัดเป็นแผงและเป็นม้วนได้ตามความต้องการโดยไม่เสียเศษเหล็ก

จะใช้แทนการผูกเหล็กเส้นธรรมดาทั่วไปเป็นอย่างดี ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน และแรงงานได้มากกว่า 80% และมีความสม่ำเสมอของตะแกรงที่แน่นอน ทำให้บริษัทหรือช่างก่อสร้างส่วนใหญ่เลือกใช้เพื่อ

รองก่อนเทคอนกรีต


ขนาดของตะแกรงไวร์เมช

ขนาดของไวร์เมชนั้น มีหลายขนาดมากตามการใช้งาน ในหน้างานแต่ละอย่าง

ไวร์เมชกลมขนาดลวด 3.0-4.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 3 มม. ตาห่าง 25ซมx25 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 25 เมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 25 เมตร
* ไวร์เมชเส้นกลม 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร

ไวร์เมช ข้ออ้อย ขนาดลวด 4.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมช ข้ออ้อย 4 มม. ตาห่าง 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร
* ไวร์เมช ข้ออ้อย 4 มม. ตาห่าง 15ซมx15 ซม. กว้าง 2 เมตร ยาว 50 เมตร

ไวร์เมช ข้ออ้อย ขนาดลวด 6.0 มิลลิเมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย 6 มม. ตา 15 ซมx15 ซม. กว้าง 3 ม. ยาว 10 เมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย 6 มม. ตา 20ซมx20 ซม. กว้าง 2 ม. ยาว 6 เมตร
* ไวร์เมชข้ออ้อย 6 มม. ตา 20ซมx20 ซม. กว้าง 3 ม. ยาว 6 เมตร

และขนาดอื่นๆ ตามที่ต้องการใช้งาน

ขนาดลวด (มม.) ชนิดลวด ขนาดระยะห่าง (@) ขนาดตาราง สั่งผลิตได้
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 15*15 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 20*20 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 25*25 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดเส้นกลม 50*50 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 20*20 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 25*25 สั่งตัดได้ตามหน้างาน
3, 4, 6 ,8,9,12 และขนาดอื่นๆ ลวดข้ออ้อย 50*50 สั่งตัดได้ตามหน้างาน


มาตรฐานของไวร์เมช
ตะแกรงไวร์เมชคุณภาพมาตรฐาน ผลิตโดยโรงงานที่ได้มาตรฐาน เชื่อถือได้ โดยได้รับ มาตรฐาน ม.อ.ก.737-2549 ASTM A185-79, BS4483


ข้อดีของการใช้งานไวร์เมช
ทำไมตะแกรงไวร์เมชถึงได้รับความนิยมใช้งานกันมาก ลองมาดูข้อดีกันครับ
1. ประหยัด เพราะเป็นตะแกรงไวร์เมชสำเร็จ ไม่ต้องผูกเหล้กเส้น ทำให้ไม่มีเหล็กเหลือ
2. รวดเร็ว สามารถใช้งานได้เลย
3. มีความแข็งแรงสม่ำเสมอเท่ากัน เพราะทั้งตะแกรง เท่ากันทุกแผ่น
4. ผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการ ไม่ว่าจะใช้กับงานแบบไหน สามารถผลิตได้ตามขนาดทั้งลวดเส้นเล็กและใหญ่
5. เช็คปริมาณได้รวดเร็ว เพราะสามารถทำเป็นแผง หรือม้วนได้ ทำให้นับจำนวนได้ง่าย
6. ใช้งานได้หลายหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานพื้นโรงงาน โกดัง ลานจอดรถ และที่นิยมใช้มากที่สุด คือถนน
7. รับแรงได้เยอะ เพราะผลิตได้ตามขนาด ได้รับมาตรฐาน ม.อ.ก.737-2549 ASTM A185-79, BS4483
8. กำหนดเวลาผลิตได้ สามารถผลิตได้ตามเวลาที่ต้องการ และทันการใช้งาน
9. รวดเร็วในการทำงาน เพราะไม่ต้องผูกเหล็ก
10. บริษัทหรือผู้รับเหมาทั่วไปเลือกใช้ ตะแกรงไวร์เมช


 

ลักษณะการใช้งานไวร์เมช

แชร์ให้เพื่อน :

รู้จักกับตะแกรงเหล็กไวร์เมช ทีพีเค

แชร์ให้เพื่อน :

ตะแกรงเหล็กไวร์เมช ทีพีเค
สำหรับช่างก่อสร้างหรือวิศวกรที่ทำงานด้านก่อสร้างอาคาร ก็คงรู้จักกับตะแกรงเหล็กไวร์เมชกันเป็นอย่างดีและเคยใช้งานตะแกรงไวร์เมชกันมาแล้วอย่างแน่นอน และรู้จักว่าตะแกรงไวร์เมชคืออะไร และมีหน้าที่อย่างไร วันนี้เรามารู้จักตะแกรงไวร์เมช ทีพีเค กัน

ตะแกรงเหล็กเสริมคอนกรีตไวท์เมชทีพีเค ภายใต้เครื่องหมายการค้า TPK(ทีพีเค)  เราดำเนินงานด้วยนโยบายการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม มีคุณภาพที่คุณมั่นใจได้  และ การบริการขนส่งที่ตรงต่อเวลาจนได้รับมาตรฐาน 

  • มอก.747-2531 ลวดเหล็กกล้าดึงเย็นเสริมคอนกรีต
  • มอก.943-2533 ลวดเหล็กกล้าข้ออ้อยดึงเย็นเสริมคอนกรีต
  • มอก.737-2549 ตะแกรงเหล็กกล้าเชื่อมติดเสริมคอนกรีต

ซึ่งคุณมั่นใจได้อย่างแน่นอนด้วยมาตรฐานดังกล่าวและ บริษัทจะยังคงมุ่งเน้นการดำเนินงานให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ สูงสุดทั้งด้านการผลิต และการบริการที่ดี ด้วยปัจจัยดังกล่าวจึงส่งผลให้ บริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบกับความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นกลุ่มก่อสร้างอาคารบ้านเรือนหรือสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ถนน

ตะแกรงไวร์เมช ทีพีเค คือตะแกรงไวร์เมชที่ช่างหรือวิศวกรเลือกใช้งาน


ข้อมูลเพิ่มเติมของตะแกรงไวร์เมชทีพีเค

ตะแกรงเหล็กไวร์เมชคือะไร https://www.tpkrungrueangkit.com/ความรู้เรื่องเหล็ก/เหล็กไวร์เมชคืออะไรและ/

ตะแกรงไวร์เมชทีพีเค https://www.tpkrungrueangkit.com/สินค้าของเรา/wire-mesh/

วิธีการเลือกใช้งานไวร์เมช https://www.tpkrungrueangkit.com/ความรู้เรื่องเหล็ก/เลือกซื้อไวเมทอย่างไรใ/

ตะแกรงไวร์เมชทีพีเค https://www.tpkrungrueangkit.com/ตะแกรงเหล็ก-ที-พี-เค/

 

แชร์ให้เพื่อน :